การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ผ่านการศึกษาเสื้อผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

ฉันทนา เชาว์ปรีชา

บทคัดย่อ

ประเทศไทยในปัจจุบันประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย  ได้แก่ มลพิษพลาสติก มลพิษทางอากาศ และ ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้เรียน ครอบครัวและสังคมอย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนในฐานะที่เป็นครูวิทยาศาสตร์มีความเห็นว่าการสร้างความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญและเป็นปัจจัยที่จะทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้วิธีหนึ่งในการบูรณาการโดยผ่านการศึกษาเสื้อผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ผู้เรียนในเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การตั้งสมมติฐาน 2) การกำหนดและควบคุมตัวแปร 3) การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ 4) การทดลอง และ 5) การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป ซึ่งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงจะนำไปสู่การคิดแก้ปัญหาและการคิดแก้ปัญหานี้จะนำไปสู่ความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยผ่านการศึกษาเสื้อผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเสื้อผ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่อยู่ใกล้ตัวผู้เรียนมากที่สุด

Article Details

บท
บทความปริทัศน์ (Review Article)

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2540). การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.

จิราพร เกิดแก้ว. (2558). การศึกษาผ้าชนิดต่าง ๆ ด้วยเทคนิค ATR-FTR, TGA และ DSC เพื่อ ประโยชน์ทางนิติวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนานันท์ โตสัมพันธ์มงคล. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ยูนิโคล่ (Uniqlo) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธาดา บัวคำศรี. (2561). ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.greenpeace.org/thailand/author/tara

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2551). การสอนวิทยาศาสตร์โดยเน้นทักษะกระบวนการ. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 8(2), 28-38.

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). ผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green products). ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR11.pdf

อรอนงค์ เดชโยธิน, อติศักดิ์ สิงห์สีโว และไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2560). การพัฒนาการรู้สิ่งแวดล้อมของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนแบบโครงการที่เน้นการคิดแก้ปัญหา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 305-317.

Gough, A., & Gough, N. (2010). Environmental education. In C. Kridel (Ed.), The SAGE Encyclopedia of Curriculum Studies. New York: Sage.

Kavitha, S., & Soundri, G. M. (2015). Eco-friendly textiles and clothing. International Journal of Science Technology & Management, 4(Special Issue No.01), 568-571.

Smith, P. L., & Ragan, T. J. (2001). Conditions-based models for designing instruction. In D. H. Jonassen (Ed.), The Handbook for Educational Communications and Technology, pp. 623-644. New York: Simon & Schuster.