การสนับสนุนครอบครัวที่มีเด็กออทิสติกสเปกตรัม

Main Article Content

สาวิตรี วงศ์กิติรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการสนับสนุนและช่วยเหลือครอบครัวที่มีบุตรหลานเป็นออทิสติกสเปกตรัม ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการทางภาษา การสื่อความหมาย              ด้านสังคมหรือปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และพัฒนาการด้านพฤติกรรม จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ และยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดภาวะออทิสซึม ซึ่งในปัจจุบันมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก  ดังนั้นการให้ความช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มแก่เด็กออทิสติกสเปกตรัมนั้น นับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครองและสมาชิกในครอบครัว และต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน เข้าใจหลักจิตวิทยาของการปรับตัวปรับใจเมื่อเริ่มรู้ว่ามีสมาชิกของครอบครัวเป็นเด็กออทิสติกสเปกตรัม  โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีปฏิกิริยาต่อความรู้สึกที่เกิดขึ้นที่หลากหลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งต้องก้าวข้ามผ่านสถานการณ์อันสับสนและยุ่งยากนี้ไปให้ถึงอีกฝั่งหนึ่งให้ได้ เพื่อให้พบกับ “การยอมรับความจริง” ได้ในที่สุด และให้ความช่วยเหลือบุตรหลานที่เป็นออทิสติกสเปกตรัมได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรม   ด้วยเหตุนี้ในการช่วยเหลือเด็กออทิสติกสเปกตรัม ที่นอกจากพ่อแม่ ผู้ปกครองแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือกันจากผู้เชี่ยวชาญรอบด้าน โดยเฉพาะนักสหวิทยาการที่ต้องช่วยเหลือกันอย่างเป็นระบบจึงจะเห็นผลของการพัฒนาอย่างชัดเจน  ซึ่งในบทความนี้จะได้กล่าวถึงลักษณะของเด็กออทิสติกสเปกตรัม  ลำดับขั้นปฏิกิริยาทางจิตวิทยาของการปรับตัวของพ่อแม่ที่มีบุตรหลานเป็นออทิสติกสเปกตรัม  เทคนิคและการให้ความช่วยเหลือเด็กออทิสติกสเปกตรัมเพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับครอบครัวที่มีบุตรหลานเป็นออทิสติกสเปกตรัม ให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสามารถช่วยเหลือตนเองและอยู่ในสังคมได้อย่างอิสระ

Article Details

บท
บทความปริทัศน์ (Review Article)

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 : คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ.

ขนิษฐา หะยีมะแซ. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบการสนับสนุนทางสังคมในผู้ดูแลเด็กกลุ่มอาการออทิซึมและเด็กพัฒนาการสมวัยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

โครงการพัฒนาเครือข่ายการดูแลและส่งเสริมสุขภาวะเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2560). ซาวองส์ อัจฉริยะ ออทิสติก. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.specialchild.psu.ac.th/artical/41-autism/

ชมรมผู้ปกครองสมาธิสั้นแห่งประเทศไทย. (2561). การฝึกกิจกรรมบำบัดหรือเอสไอ. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.adhdthai.com/autistic/catalog.php?category=20

ชะไมพร พงษ์พานิช, สมดี อนันต์ปฏิเวธ, ประภาพันธ์ ร่วมกระโทก และสมหมาย เศรษฐวิชาภรณ์. (2555). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะครอบครัว สำหรับผู้ปกครองและผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติกตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(1), 11-25.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2553). การตรวจประเมินและวินิจฉัยความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรมหรือออทิสติก. ใน: คู่มือการตรวจประเมินและวินิจฉัยความพิการ ตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2560). การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพในออทิสติก. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561, จาก http://www.happyhomeclinic.com/au22-autism-care-vocation.html.

ธีรารัตน์ เจริญชัยภรณ์. (2554). ความสัมพันธ์ของความรู้และระดับความเครียดของผู้ปกครองเด็กออทิสติก. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์ และคณะ. (2561). การช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม. เอกสารการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ “เปิดโลกออทิสติก ครั้งที่ 12” “การให้ความช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับบุคคลที่มีภาวะออทิสซึมสเปกตรัม”. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เดอะบุคส์.

พฤฒิศักดิ์ จันทราทิพย์. (2552). ปัจจัยทำนายความเครียดในการดูแลเด็กออทิสติกของมารดา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เพ็ญแข ลิ่มศิลา. (2540). การวินิจฉัยโรคออทิสซึม. สมุทรปราการ: ช.แสงงามการพิมพ์. เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศร. (2554). การเปลี่ยนแปลงของครอบครัวที่มีบุตรออทิสติกวัยเด็กตอนกลาง และ ครอบครัวที่มีบุตรออทิสติกวัยรุ่น. เชียงใหม่: คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สาวิตรี รุญเจริญ. (2549). เทคนิคในการดูและให้ความช่วยเหลือเด็กออทิสติก. วารสารศูนย์บริการวิชาการ, 14(1), 9-16.

สาวิตรี วงศ์กิติรุ่งเรือง. (2558). ผลของการใช้วิธีเรื่องราวทางสังคม (Social Stories) ที่มีต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของนักเรียนที่มีภาวะออทิสซึม. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยออทิสติกคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมภพ เรืองตระกูล. (2545). ตำราจิตเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

สุภาพ ชุณวิรัตน์. (2553). ความชุกของภาวะซึมเศร้า และแรงสนับสนุนทางสังคมของมารดาเด็กออทิสติก อายุ 3-10 ปี ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล. วารสารสถาบันราชานุกูล, 25(1), 28-37.

สุภาพร แนวบุตร. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(4), 30-40.

สุภาวดี คำกุณา. (2550). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา ต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กออทิสติกของผู้ปกครองในคลินิกส่งเสริมพัฒนาการ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อรุณี พันธุลี. (2548). ผลของกลุ่มให้ความรู้และประคับประคองทางจิตใจต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กออทิสติก สุขภาพจิตและความรู้สึกเป็นภาระการดูแลของผู้ปกครอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

RYT9. (2561). จิตแพทย์ไทยคิดค้นเครื่องตรวจวินิจฉัยออทิสติกสำเร็จเสนอเวที ICA. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.ryt9.com/s/prg/2892374.

Cohen, H., Amerine-dickens, M., & Smith, T. (2006). Early Intensive Behavioral Treatment: Replication of the UCLA Model in a Community Setting. Journal of Developmental & Behavioral Pediatrics, 27(2), 145 - 155.

Gray, C. (1995). Social stories unlimited: Social stories and comic strip conversations, and related instructional techniques. Jenison, MI: Jenison Public Schools.

Gregory, C. (2018). The Five Stages of Grief: An Examination of the Kubler-Ross Model. Retrieved August 5, 2018, from https://www.psycom.net/depression.central.grief.html

Griffin, M. M., Taylor, J. L., Urbano, R. C., & Hodapp, R. M. (2014). Involvement in Transition Planning Meetings among High School Students with Autism Spectrum Disorders. The Journal of Special Education, 47(4), 256 – 264.

Levy, S. E., & Hyman, S. L. (2008). Complementary and Alternative Medicine Treatments for Children with Autism Spectrum Disorders. Retrieved August, 11, 2018, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2597185/TEACCH

Autism Program. (2017). Remembering Dr. Eric Schopler, Founder of TEACCH, Retrieved 11th August 2018, from https://teacch.com/remembering-dr-eric-schopler-founder-of-teacch/