การพัฒนาระบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำครูในวิทยาลัยครู แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำของครูในวิทยาลัยครู และ 2) ศึกษาผลการใช้ระบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำของครูในวิทยาลัยครูแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 : การพัฒนาระบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำของครูในวิทยาลัยครู กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร และแบบประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 2 : การศึกษาผลการใช้ระบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำของครู กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนทั้งหมด 29 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
1) ระบบเสริมสร้างภาวะผู้นำของครูประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด 2) ด้านกระบวนการ (Process) ประกอบด้วย 19 ตัวชี้วัด 3) ด้านผลผลิต (Output) ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด และ 4) ด้านข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ประกอบด้วย 1 ตัวชี้วัด ผลการยืนยันความเหมาะสมของระบบตามองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน และคู่มือการพัฒนาระบบทั้ง 4 ตอน พบว่า ระบบและคู่มือมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านและทุกตอน
2) ผลการใช้ระบบเสริมสร้างภาวะผู้นำของครูในวิทยาลัยครู พบว่า ครูทั้ง 14 คนได้รับการส่งเสริมให้มีภาวะผู้นำตามองค์ประกอบทั้ง 6 ด้านสูงขึ้น (ก่อนการใช้ระบบฯ มีค่าเฉลี่ย 3.66 และ หลังการใช้ระบบฯ มีค่าเฉลี่ย 4.01) และผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อระบบตามองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน และต่อระบบจำแนกตามมาตรฐานการประเมินทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน และระบบได้รับการปรับปรุงให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2010). มาตรฐานของครูลาว. นครหลวงเวียงจัน: เอกพลการพิมพ์.
กฤตฏ์ ชมภูวิเศษ. (2559). การพัฒนาระบบการบริหารงานวิจัย สำหรับคณะวิชาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กฤษฎา กัลปดี. (2559). การพัฒนาระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานทางวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เฉลียว บุรีภักดี. (2552). การบริหารการศึกษาตามแนวคิดเชิงระบบ : คู่มือการจัดการศึกษา 0511902: Application of System Theory in Education Administration and Development1. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัยรัตน์ หลายวัชระกุล. (2547). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฐพงศ์ ทับสุลิ. (2559). การพัฒนาระบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมงานเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อาภารัตน์ ราชพัฒน์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Avolio, B. J. (1999). Full Leadership Development: Building the Vital Forces in Organizations. Thousand Oaks, CA: SAGE Publication.
Bonduris, J. (2011). Who's Leading Now: A Case Study of Teacher Leadership. Doctoral dissertation, Mills College.
Deming, D. (2009). Early childhood intervention and life-cycle skill development: Evidence from Head Start. American Economic Journal: Applied Economics, 1(3), 11-106.
Feeney, E. J. (2009). Taking look at a school’s leadership capacity: The role and function of high school department chairs. Clearing House: A Journal of Educational Strategies, 82(5), 212-219.
Feiler, R., Heritage, M., & Gallimore, R. (2000). Teachers leading teachers. Educational Leadership, 57(7), 66 – 69.
Frost, D., & Durrant, J. (2003). Teacher leadership: Rationale, strategy, and impact. School Leadership & Management, 23(2), 173–186.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2013). Educational Administration: Theory Research and Practice. 9th ed. New York, NY: McGraw-Hill.
Katzenmeyer, M., & Moller, G. (2009). Awakening the Sleeping Giant: Helping Teacher Leaders Develop as Leaders. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Killion, J., et al. (2016). A System Approach to Elevating Teacher Leadership. Oxford, OH: Learning Forward.
Landeau, R. J., Vandorn, D., & Freeley, M. (2009). Sharing hats. Educational Leadership, 67(2), 57-60.
Lunengberg, F. C., & Orstein, A. C. (2012). Educational Administration Concept and Practices. 6th ed. New York, NY: Cengage Learning.
Margolis, J., & Huggins, K. (2012). Distributed but undefined: New teacher leader roles to change schools. Journal of School Leadership, 22(5), 953-981.
Miller, L. (1992). Teacher Leadership in a Renewing School. In C. Livingston (Ed.), Teacher as leaders: Evolving roles (pp. 115-130). Washington, DC: National Education Association.
Suranna, K. J., & Moss, D. M. (2002). Exploring Teacher Leadership in The Context of Teacher Preparation. Paper presented at the annual meeting of the Educational Research Association, New Orlean, LA.
Troen, V., & Boles, K. (1992). Leadership from the Classroom: Women Teachers as the Key to School Reform. Paper Presented at the Annual Meeting of the American Educational Research Association, San Francisco, CA, April 1992.