บทบาทผู้นำกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ตลาดหัวปลี จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • กัณญพัตส บุญล่ำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • อังคณา อุดมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: บทบาทผู้นำ การบริหารจัดการ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้นำกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ตลาดหัวปลี จังหวัดสระบุรี และเพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตลาดหัวปลี จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 15 คนได้แก่ผู้นำที่มีบทบาทสำคัญด้านการบริหารจัดการจาก ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และตัวแทนชุมชน  เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) และแบบสโนว์บอลล์ (snowball sampling) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลวิจัยพบว่าผู้นำโดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง การศึกษาอยู่ในระดับปริญาตรีเป็นส่วนใหญ่ผู้นำมีบทบาทที่สำคัญในการบริหารจัดการที่นำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในการบ่งชี้ความรู้, การสร้างและแสวงหาความรู้, การจัดความรู้ให้เป็นระบบ,การประมวลและกลั่นกรองความรู้,การเข้าถึงความรู้, การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้, Bone (1992, p. 579-583)  การทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน และพบว่าปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จด้านการบริหารจัดการได้แก่ปัจจัยด้านพื้นที่เชิงสร้างสรรค์(Creative space) ที่มีบรรยากาศของสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ปัจจัยด้านกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative spectacles) และปัจจัยด้านกลุ่มผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (Creative cluster) (UNESCO ,1978, p. 38) ทั้งนี้มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหลายด้าน เช่น  ร้อง รำ ทำ โชว์บนพื้นฐานความหลายหลายของสินค้าที่มีคุณภาพจากชุมชนในพื้นที่ผู้นำมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนให้มีความรู้ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม ระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการ และคนในชุมชนร่วมกันวางแผนพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ  ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ เกิดการกระจายรายได้จากพื้นที่ธรรมดาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

References

ชินวัตร เชื้อสระคู (2564) ปัจจัยของการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนของอำเภอหว้านใหญ่จังหวัดมุกดาหาร.วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์.ปที่ 17 ฉบับที่ 2 หน้า63-72

วัลลภ วรรณโอสถ. (2564). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถีเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน.(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศตรรฆ ประจงค์ และคณะ. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมนตำมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารเวอร์ริเดียน. 10 (2).หน้า15-18

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism)”. กรุงเทพมหานคร: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

สุรีย์ บุญญานุพงศ์ และคณะ. (2559). การบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง

วัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนาเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์และสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุน(สกว.).

อรรนพ เรืองกัลป์ปวงศ์ และสราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์. (2560). บุพปจจัยที่มีผลตอความตั้งใจกลับมาเที่ยวตลาดริมนํ้าดอนหวายซํ้าของนักทองเที่ยวชาวไทย.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 11 (4). หน้า 202-234.

Brennan and Carol Ann. (1996). “Concept Mapping : An Effective Instructional Strategy in Science with Kindergarten Student,” Dissertation Abstracts International. 57(4) : p. 1965-A.

Bagwell, S. (2009). Creative clusters and city growth. Creative Industries

Journal. 1 . p 31-46.

Bone, P.F. (1992). Determinants of WOM communication during product consumption.

Advances in Consumer Research, No. 19, p 579-583.

Bonink, C. and Hitters, E. (2001). “Creative industries as milieu of innovation:

the westergasfabriek, Amsterdam.” In Cultural Attractions and European

Tourism : p. 237-240. Richards, G., ed. Wallingford: CABI.

Christopherson, Robert W. 1994. Geosystem Englewood Cliffs : Macmillan College

Publishing Company.

Klaus Krippendorff. (2004). Content analysis: an introduction to it’s methodology. (2 nd ed). Thousand Oaks: Sage.

McIntosh, Robert W., and Chorles R. Goeldner. (1986). Tourism : Principles, Practices,

Philosophies. New York : Wiley Press.

UNESCO. (1978). Indicator of Invironment Qaulity and Quality of life Research and . SocailScience. No 38. Paris: UNESCO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-11