การพัฒนารูปแบบบริการทางคลินิกสำหรับผู้ป่วย NCDs ศูนย์บริการสาธารณสุข สวนหลวง ร.9 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, บริการทางคลินิก, ผู้ป่วย NCDsบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบบริการทางคลินิกสำหรับผู้ป่วย NCDs ศูนย์บริการสาธารณสุข สวนหลวง ร.9 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) เวชระเบียนผู้ป่วยที่มารับบริการด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 245 คน 2) ผู้บริหาร จำนวน 1 คน 3) เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการผู้ป่วย NCDs จำนวน 3 คน และ 4) ผู้ป่วย NCDs จำนวน 8 คน รวมทั้งหมด 257 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วย แบบสังเกตการณ์ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความ พึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สถานการณ์การให้บริการทางคลินิกสำหรับผู้ป่วย NCDs พบผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 33.06 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 66.93 ระดับน้ำตาล มากกว่า 126 mg/dl ร้อยละ 39 และความดันโลหิต ระดับ SBP 130 – 179 mmHg, DBP 85 – 109 mmHg ร้อยละ 45 รูปแบบบริการสุขภาพ ประกอบด้วย การคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน และการคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การประสานผู้รับบริการก่อนล่วงหน้า 1 วัน กรณีที่ผู้ป่วยมารับบริการไม่ได้ อสม.จะให้บริการที่บ้าน มีการค้นหาบัตรผู้รับบริการล่วงหน้า ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการส่งเจาะ DTX ให้คำแนะนำและส่งพบแพทย์ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองและคำแนะนำพร้อมส่งพบแพทย์ ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการหลังพัฒนารูปแบบการบริการ อยู่ในระดับมาก (mean=40.75, SD=9.136) ความรู้สึกต่อการเข้ารับบริการของผู้ป่วยกลุ่ม NCDs คือ พอใจมากเนื่องจากเจ้าหน้าที่ให้บริการดีขึ้น มีขั้นตอนชัดเจน ไม่รอนาน ชักประวัติและรอตรวจรวดเร็ว ให้คำแนะนำเข้าใจชัดเจน และมี อสม ไปให้บริการเจาะ DTX และวัดความดันโลหิตที่บ้าน
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ บริการทางคลินิก ผู้ป่วย NCDs
References
กฤษดา อินหาดกรวด. (2022). การพัฒนาระบบงานให้คำปรึกษาและติดตามการใช้ยาในคลินิกผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสากเหล็ก. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 3(2), น 47-61.
กมลาศ ทองมีสิทธิ์ โยสท์ ,จิตนภา วาณิชวโรตม์ และกฤษณา ตรียมณีรัตน์. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย เรื่อง พัฒนารูปแบบการให้บริการวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง). ค้นเมื่อ 21 มีนาคม. 2567, จาก http://angingthai.dms.go.th/agingthai/wpcontent/uploads/2023/01/research_01.pdf
ดวงดาว ราตรีสุข, ญาณีกร สีสุรี, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการให้บริการทางสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกิ้ง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 38(2), น 339-348.
จันทร์เพ็ญ ประโยงค์ พิสมัย ไชยประสบ และดรุณี มั่นใจวงค์. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29(5), น 803-812.
ต้องจิตร ลันโคตร. (2563). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก จังหวัดสกลนคร: ระบบเผยแพร่ผลงานวิชาการ (Open Access) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2567, จาก http://skk.moph.go.th/dward/index.php?module=oa
ประภา ราชา. (2563). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารแพทย์เขต 4-5. 39(3), น 414-426.
ภิญยา ไปมูลเปี่ยม พัชนี อินใจ วินัย ปันทะนะ และไชยวัฒน์ น้ำเย็น. (2559). การพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสงู แบบมส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนภายใต้บริบทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สาคร อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 25(3), น 394-400.
ศุภาวดี พันธ์หนองโพน วรพจน์ พรหมสัตยพรต และผดุงศิษฏ์ ชานาญบริรักษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใต้รูปแบบการจัดการโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) ในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 6(2), น 55-69.
สาคร อินโท่โล่ สมพิศ เพียงเกษ นวรัตน์ บุญนาน ธนัท ปุริทาสังข์ และระพีพร คะสุวรรณ์. (2565). การพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ใช้บริการโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในบริบทการบริการสุขภาพปฐมภูมิ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 40(2). น 83-97.
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องพ.ศ.2562. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กลุ่มเทคโนโลยีระบาดวิทยาและมาตรการชุมชนกองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์
Kemmis, S. and McTaggart, R. (1988). The Action Research Reader. Australia: Victoria Deakin University Press;
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), p. 607–610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว