การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน
คำสำคัญ:
ผลการจัดการเรียนรู้, สื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง, ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวด้วยตนเองสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน (2) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวด้วยตนเองสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน และศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวด้วยตนเองสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน ตัวอย่างได้แก่ ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชนกุฎีจีน แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดคุณสมบัติให้จบการศึกษาขั้นต่ำในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจความต้องการในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ชุดฝึกอบรมซึ่งมีบทเรียนการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน และแบบประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน แบบทดสอบวัดทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีนมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง มีระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงสูงกว่าปริญญาตรี มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับปานกลางและควรปรับปรุง และชุดฝึกอบรมสร้างขึ้นจากความต้องการของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชนโดยการรวบรวมเป็นชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง จำนวน 5 หน่วย จากการใช้ชุดฝึกอบรม “การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อการภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน” พบว่าตัวอย่างได้คะแนนก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.60 และได้คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.83 เมื่อทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ t-test มีค่าเท่ากับ 21.39 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยการใช้ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีนมีความคิดเห็นต่อชุดฝึกอบรม “การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อการภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน” ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านภาษา ด้านกิจกรรมการฝึกฝนการใช้ภาษา ด้านการออกแบบ และด้านการใช้ประโยชน์ ตัวอย่างมีความเห็นต่อชุดสื่อการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( = 4.30)
References
จันทร์สุดา บุญตรี. (2561). การศึกษาและพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมี ส่วนร่วม เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรสู่สากล : กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. รมยสาร. 16 (2). น. 171-193.
ชมพู อิสริยาวัฒน์. (2561). การพัฒนาคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับชุมชนท่องเที่ยว : กรณีศึกษาบ้านหนองตาไก้ ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. รมยสาร. 16 (2),
น.127-145.
ธญวรรณ ก๋าคำ. (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับชุมชน กลุ่มธนบุรี กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2546). วิจัยธุรกิจยุคใหม่. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราพร พูลเกษ วนุชชิดา สุภัควนิช และธีติพล วิมุกตานนท์. (2555:9). การพัฒนาทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษของชุมชนหมู่บ้านโฮมสเตย์เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว : กรณีศึกษา บ้านโคกโก่ง ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน คณะเทคโนโลยีสังคม วิทยาเขตกาฬสินธุ์ งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555.
คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). รายงานประจำปี 2554.
กรุงเทพมหานคร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พิชัย สดภิบาล. (2553). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม : ปัจจัยเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว.
สืบค้น 19 กันยายน 2557, จาก http://www.thaiblogonline.com/ sodpichai.blog?
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว