ผลของโปรแกรมการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยที่พักรักษาตัว ในโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • อัญญารัตน์ มุสิกะ โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการป้องกันพลัดตกหกล้ม , ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยสามัญ ๒, โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Quasi-experimental design one group) แบบ 1 กลุ่มวัดผลก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการป้องกันพลัดตกหกล้ม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยสามัญ ๒ จำนวน 52 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและหยิบฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการพลัดตกหกล้ม แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และโปรแกรมการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็ง  สุราษฎร์ธานี ผ่านการหาคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา (content validity index: CVI) เท่ากับ 0.97, 0.88, 0.87 และ 0.87 ตามลำดับ ส่วนค่าความเที่ยงตรงของการวัดโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach′s Alpha Coefficient) ของแบบประเมินความรู้และแบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ได้ค่า Reliability เท่ากับ 0.86 และ 0.89 ตามลำดับ ผลการวิจัย พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ก่อนและหลังได้รับโปแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนทดลองกับหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.01 ซึ่งหลังทดลอง (mean=59.884, SD=3.221) กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้สูงกว่าก่อนทดลอง (mean=47.846, SD=10.677) และค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม พบว่าก่อนทดลองและหลังทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.01

References

ณภัทรธร กานตธนาภัทร, พรรณวรดา สุวัน, จุฑารัตน เสาวพันธุ, กชนิภา ขวาวงษ์, ญาธิดา วุฒิศาสตร์กุล, และวิยะดา ทิพม่อม (2564) การรับรู้เกี่ยวกับการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม และจำนวนครั้งของการหกล้มของผู้สูงอายุภายหลังการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 29(1), น. 111-126.

เพ็ญรุ่ง วรรณดี, จิรพรรณ โพธิ์ทอง และอุมากร ใจยั่งยืน. (2563). การศึกษาสถานการณ์การหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 126-141. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/242393.

ลาวัลย์ เชยชม ชญานันท์ ทิพย์ละมัย และศรัณยา ทัดทอง (2560) ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติในการป้องกันการเกิดพลัดตกหกล้มในหอผู้ป่วยสามัญหญิง 1 โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี. วารสารกรมการแพทย์. 44(5), น. 54-61.

วรรณภา พฤกษะวัน, อรชร กันจีน๊ะ, ประไพศรี ปัญญาอิ่นแก้ว, เสาวณีย์ ฤดี, และเยาวภา พรเวียง. (2022). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 5(1), น. 113-129.

ศิริลักษณ์ กุลลวะนิธีวัฒน์ม พัชรินทร์ สรไชยเมธา, ศรีสุดา เจียะรัตน์, รดิวันต์ กิตติชัยเศรษฐ์, เมทณี ระดาบุตร, และสารนิติ บุญประสพ. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้ป่วยบกพร่องทางการเคลื่อนไหวที่เข้ารับการฟื้นฟูสภาพในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 21(2), น. 422-433.

สุรินทร์รัตน์ บัวเร่งเทียนทอง จินตนา ฤทธารมย์ สุรีรัตน์ มงคลพันธุ์ อรทัย ยินดี (2566) ปัจจัยทำนายความตระหนักต่อความเสี่ยงการพลัดตกหกล้มผู้ที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเขตเมือง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 39(3), น. 73-83.

Jing Zhao, Guozhou Wang, Lei Chen, Simiao Yu, Wenli Li. (2022). Risk factors for falls in hospitalized patients with cancer: A systematic review and meta-analysis. Asia-Pacific Journal of Oncology Nursing. https://doi.org/10.1016/j.apjon.2022.100107

Neeti Mishra, Anil Kumar Mishra, Mansi Bidija. (2017). A study on correlation between depression, fear of fall and quality of lifein elderly individuals. International Journal of Research in Medical Sciences. 5(4), pp. 1456-1460.

Min H. Huang, Tracy Lytle, Kara A. Miller, Kristin Smith, Kayle Fredrickson. (2014). History of falls, balance performance, and quality of life in older cancer survivors. Gait & Posture. 40, pp. 451–456

Schroder Sattar, Cindy Kenis, Kristen Haase, Peggy Burhenn, Petra Stolz-Baskett, Koen Milisen, Ana Patricia Ayala, Martine T.E. Puts. (2020). Falls in older patients with cancer: Nursing and Allied Health Group of International Society of Geriatric Oncology review paper. Journal of Geriatric Oncology. 11, pp. 1–7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27