การพัฒนาน้ำสลัดและแซนวิชสเปรด โดยใช้น้ำส้มสายชูหมักจากกล้วยน้ำว้า

ผู้แต่ง

  • นวลระหง เทพวิวัฒน์จิต -

คำสำคัญ:

น้ำส้มสายชูกล้วย, น้ำสลัด, แซนวิชสเปรด

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการหมักน้ำส้มสายชูจากกล้วยน้ำว้าที่เหมาะสมกับวิสาหกิจชุมชน 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำสลัดและแซนวิชสเปรดที่ใช้น้ำส้มสายชูกล้วยน้ำว้าเป็นส่วนผสม 3) ศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น และ 4) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่วิสาหกิจชุมชนและผู้สนใจทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า ส่วนผสมสำหรับหมักเอทิลแอลกอฮอล์ที่เหมาะสม ประกอบด้วย เนื้อกล้วยสุกงอมสับละเอียด 1 กิโลกรัม น้ำสะอาด 4 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม กรดซิตริก 10 กรัม ยีสต์ผงสำหรับหมักไวน์ทางการค้า 1.25–1.5 กรัม หมักที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 9 วัน จะได้ความเข้มข้นเอทิลแอลกอฮอล์ 10.2% และส่วนผสมสำหรับหมักน้ำส้มสายชูในถาดประกอบด้วย เนื้อกล้วยสุกสับละเอียดผสมน้ำที่อัตราส่วน 1:4 ปริมาณ 600 มิลลิลิตร หัวเชื้อน้ำส้มสายชู 100 มิลลิลิตร และน้ำหมักแอลกอฮอล์จากกล้วย 1,300 มิลลิลิตร หมักที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 7 วัน ได้น้ำส้มสายชูกล้วยน้ำว้าที่มีปริมาณกรดอะซิติกโดยเฉลี่ย 5.05% ผลิตภัณฑ์น้ำสลัดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย น้ำส้มสายชูจากกล้วย 75 กรัม น้ำตาลทราย 80 กรัม เกลือป่น 5 กรัม พริกไทยป่น 3 กรัม มัสตาร์ด 5 กรัม ไข่แดง 2 ฟอง และน้ำมันถั่วเหลือง 225 กรัม ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมในระดับชอบมาก (7.75 ± 0.63) และผลิตภัณฑ์แซนวิชสเปรด ประกอบด้วย น้ำสลัด ร้อยละ 82 แตงกวาดอง ร้อยละ 13 และแครอทดอง ร้อยละ 5 ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมในระดับชอบปานกลาง (7.46 ± 0.84) ผลการวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ พบว่า ทั้งสองผลิตภัณฑ์มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐาน การดำเนินงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต มีผลการประเมินความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการการจัดอบรมในระดับมากที่สุด (4.70 ± 0.47)

References

กัญญา สอนสนิท, อุมาพร อาลัย และอานนท์ เรียงหมู่. (2565). ความเข้มข้นของน้ำตาลและแอลกอฮอล์ที่เหมาะสมต่อการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากกล้วยน้ำว้า. เรื่องเต็มการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 7-8 กรกฎาคม 2565, หน้า 203-211.

กฤตพร รําจวนเกียรติ. (2565). การศึกษาปริมาณเพคตินในน้ำส้มสายชูหมักจากเปลือกกล้วยน้ำว้า (Musa sapientum L.) ที่ระยะสุกแก่ต่างๆ, แก่นเกษตร, 50 (5), หน้า 1317-1326.

ช่วยคิดช่วยทำ. (2556). ชีวิตชีวา 11 สค 56 ช่วงที่ 3/3 น้ำส้มสายชูกล้วย. ค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2562, จาก https://www.youtube.com/watch?v=O0PZxfykBys

นวลระหง เทพวิวัฒน์จิต. (2559). การผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากน้ำหวานจาก. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

นฤมล จันทิมา, ศศิธร แท่นทอง และเบญจพร ศรีสุวรมาศ. (2558) การผลิตและการตรวจสอบคุณภาพน้ำส้มสายชูจากกล้วย, วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7 (7), หน้า 57-76.

บุศราภา ลีละวัฒน์, แสงเพชร ไพโรจน์ และสุภาพร สัมพันธ์ปรีดา. (2560). พฤติกรรมการไหลของน้ำสลัดไขมันต่ำจากการใช้แป้งข้าวเจ้าร่วมกับแซนแทนกัมเป็นสารให้ความข้นหนืด, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19 (2), หน้า 98-107.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 204) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำส้มสายชู. (2544, 24 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 118 ตอนพิเศษ 6 ง

มาลัย เมืองน้อย และพิศมัย ศรีชาเยช. (2557). การผลิตน้ำส้มสายชูหมักและน้ำส้มสายชูพร้อมดื่ม (เอกสารประกอบการฝึกอบรม). สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ 30-31 กรกฎาคม 2557.

วรรณภา ทาบโลกา, จินตนา เป็นรัมย์ และนภาลัย ใยบัว. (2556) ผลของปริมาณแอลกอฮอล์และสภาวะการให้อากาศต่อปริมาณวิตามินซี และการผลิตน้ำส้มสายชูหมักมะขามป้อม. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51: สาขาส่งเสริมการเกษตรและคหกรรมศาสตร์, สาขาอุตสาหกรรมเกษตร, หน้า 439-446.

วราวุฒิ ครูส่ง และรุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. (2532). เทคโนโลยีการหมักในอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

วริศชนม์ นิลนนท์ และกุลพร พุทธมี. (2553). การหาสภาวะที่เหมาะสมของการหมักนํ้าส้มสายชู จากเงาะแบบถาด. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาอุตสาหกรรมเกษตร, หน้า 261-268.

วสาวี พิชัย. (2550). กระบวนการผลิตและอายุการเก็บรักษานํ้าสลัดไข่โอเมก้า. วิทยานิพนธ์วิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำสลัด (มผช. 672/2547). กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2539). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แซนวิชสเปรด (มอก. 1376-2539). กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

หนูเดือน สาระบุตร. (2552). คุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และรีโอโลจีของน้ำสลัดข้นไขมันต่ำที่ผลิตจากส่วนผสมของแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า และแป้งข้าวโพด. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยมหาสารคราม.

อรพิน คนเที่ยง. (2554). การผลิตน้ำสลัดชนิดข้นลดแคลอรีเสริมสมุนไพร. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Alben Ercelebi, E. and Ibanoglu, E. (2008). Stability and rheological properties of egg yolk granule stabilized emulsions with pectin and guar gum. International Journal of Food Properties, 13 (3), 618-630.

Pinsirodom, P., Rungcharoen, J. and Liumminful, A. (2008). Quality of commercial wine vinegars evaluated on the basis of total polyphenol content and antioxidant properties. Asian Journal of Food and Agro-Industry, 1 (4), 236-245.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27