การทดสอบประสิทธิภาพชุดเสริมสร้างความตระหนัก ในการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • สุมณฑา โพธิบุตร -
  • อัญชลี จิตราภิรมย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ศิมาภรณ์ พวงสุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพชุดสร้าง; ความตระหนักในการป้องกันการตั้งครรภ์; นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดเสริมสร้างความตระหนักในการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดเสริมสร้างความตระหนักในการป้องกัน การตั้งครรภ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อหาคุณภาพชุดเสริมสร้างความตระหนักในการป้องกัน การตั้งครรภ์ของนักเรียนมัธยมชั้นศึกษาตอนต้น และ 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพ ชุดการสอน คู่มือวัยรุ่นยุคดิจิทัล รู้ทันเรื่องเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้มาโดยวิธีการสุ่ม จำนวน 1 กลุ่ม 16 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คนโดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติพื้นฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า จากการหาประสิทธิภาพของชุดเสริมสร้างเท่ากับ 87.85/92.01 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความตระหนักในการป้องกันการตั้งครรภ์   เพิ่มขึ้นหลังเรียนด้วยชุดเสริมสร้างนี้ ผลการประเมินคุณภาพด้านประสิทธิภาพทางการสอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.53 อยู่ในระดับดีมาก ด้านคู่มือคู่มือวัยรุ่นยุคดิจิทัล รู้ทันเรื่องเพศมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.20 อยู่ในระดับดี และผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังด้วยชุดเสริมสร้างความตระหนักในการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์ และคณะ. (2567). ผลการใช้รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่นในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 26(1), 187-201.

นาตยา แก้วพิภพ และพรรณี บัญชรหัตถกิจ (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ ด้านสุขภาพและการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ใน นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารสุขศึกษา, 42(1), 55-67.

พรรษมน สุริยสาร (2562). การพัฒนาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลงิ้วราย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 5(2), 132-45.

เพียรศรี นามไพร.(2560). ความรู้และเจตคติในการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ตำบลเกษตรวิสัยอำเภอเกษตรวิสัยจังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 14(3), 67-75.

พัทยา แก้วสาร, นภาเพ็ญ จันทขัมมา. (2564). การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกลุ่มนักเรียนประถมปลาย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์.41(2), 101-110.

ธันวดี ดอนวิเศษ และพัชรินทร์ รุจิรานุกูล. (2564). การจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่น: วิธีการและผลลัพธ์. วารสารการศึกษาวัยรุ่น.13(2), 38-49.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2565). ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2560-2569. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

ศิริพร ศรีอินทร์. (2564). ปัจจัยทำนายการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจในวัยรุ่น อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 4(1):68-81.

อาทิตยา มาละ, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร และกรกฏ ศิริมัย. (2565). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการฝึกทักษะการตัดสินใจต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์, 40(3), 14-30.

อารีรัตน จันทรลําภู และปยะรัตน เอี่ยมคง. (2563). สถิติการคลอดของแมวัยรุนประเทศไทย ป พ.ศ. 2563. นนทบุรี: สํานักอนามัยการเจริญพันธุ กรมอนามัย; 2563

อุไรวรรณ ฐิติวัฒนากูล, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว และทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. (2565). ผลของโปรแกรมการพัฒนาทุนชีวิต โดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(6), 984-996.

เอ็มวิกา แสงชาติ และรุจิรา ดวงสงค์. (2559). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Facebook) ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 23(1), 96-104.

Dahal, N., Pant, B., Luitel, B., Khadka, J., Shrestha, I. M., Manandhar, N., & Rajbanshi, R. (2023). Development and evaluation of e-learning courses: Validity, practicality, and effectiveness. International Journal of Interactive Mobile Technologies, 17(1), 40-60.

World Health Organization. (2017). Adolescent Pregnancy: Global Health Risks and Policies. WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27