ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทยและความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย

ผู้แต่ง

  • จีรภัทร อาดนารี -
  • นงเยาว์ อุทุมพร
  • ปรีชา ธนะวิบูลย์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย, ความสามารถในการแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทยของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การฟัง การดูและการพูดสำหรับครูภาษาไทย (1023101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 20 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย จำนวน 25 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.36-0.73 และค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.26-0.79 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ มีค่าเท่ากับ 0.86 สำหรับข้อสอบที่เป็นอัตนัย จำนวน 5 ข้อมีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.40-0.65 และค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.32-0.80 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอัตนัยทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่น 0.77 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อมีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.25-0.56 และค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.26-0.69 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ มีค่าเท่ากับ 0.71 วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย         และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25