นวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสุขในชีวิตสมรส
คำสำคัญ:
นวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการ, ความสุขในชีวิตสมรส, คู่สมรสบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการ 2) ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คู่สมรสที่อย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นข้าราชการทหารบก โดยใช้ชีวิตสมรสร่วมกันมากกว่า 2 ปีขึ้นไป และปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่กองทัพภาคที่ 1 มณฑลทหารบกที่ 14 อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี จำนวน 20 คู่สมรส ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความสุขในชีวิตสมรส และนวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสุขในชีวิตสมรส มีจำนวน 8 ครั้ง ครั้งที่ 1-2 และ ครั้งที่ 7-8 ใช้เวลา 90 นาที ในการปรึกษาออนไลน์ ครั้งที่ 3-6 เป็นการปรึกษาแบบพบหน้า ใช้เวลาครั้งละ 180 นาที แบ่งออกเป็นการปรึกษาโดยใช้เทคนิคการปรึกษาเชิงบูรณาการ 90 นาทีและกิจกรรมการฝึกอบรม 90 นาที และผลการใช้นวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการ พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการมีคะแนนความสุขในชีวิตสมรสในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการมีคะแนนความสุขในชีวิตสมรสในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
จิรศักดิ์ สระบัวทอง. (2563). คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้ อากาศยาน. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 6 (2). น. 165 – 181.
ธิรดา สุวัณณะศรี. (2559). การศึกษาและพัฒนาความสุขในชีวิตสมรสด้วยรูปแบบการให้คำปรึกษาคู่สมรสแบบ บูรณาการ. ปริญญาดุษฎีนิพนธ์ สาขาวชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฉัตร์รัตน์ เตือนสติกุล. (2564). การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสมรสของคู่สมรสด้วยการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออก ระยะสั้น. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2565). การปรึกษาครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชลบุรี: เนติกุลพริ้นติ้ง.
American Association for Marriage and Family Therapy (2015). AAMFT code of ethics. Alexandria, VA: AAMFT
Beyerlein, M. M., Beyerlein, S. T., & Kennedy, F. A. (2006). Innovation through collaboration. New York: Elsevier.
Corey, G. (2012). Theory and practice of counseling and psychotherapy. Cengage learning.
Department of Mental Health. (2010). Marriage Counseling Handbook. Bangkok: Bureau of Mental Health Development, Department of Mental Health; Ministry of Public Health.
De Shazer, S., & Dolan, Y. (2007). More than miracles: The state of the art of solution-focused brief therapy. New York: Routledge, Taylor & Francis Group.
Khoshakhlagh, H., & Narimani, A. (2019). Effectiveness of solution-focused brief couple therapy on happiness and marital conflict in veterans' spouses. Iranian Journal of War and Public Health. 11 (1), pp. 7-13. doi:10.29252/ijwph.11.1.7
Rios-Rull, J. V., Seitz, S., & Tanaka, S. (2016). Sex Ratios and Long-Term Marriage Trends. Retrieved April 23, 2023, from https://www.sas.upenn.edu/~vr0j/slides/sexratios_2016_1105.pdf
Sandhya, S. (2009). The social context of marital happiness in urban Indian couples: Interplay of intimacy and conflict. Journal of Marital and Family Therapy. 35 (1), pp. 74-96. doi:10.1111/j.1752-0606.2008.00103.x
Satir, V.; and Bitter, James. (1991). The Therapist and Family Therapy: Satir's Human Validation Process Model. Family Therapy and Counseling. 2nd. A. M. Horne & J. L. Passmore (Eds.), Eds.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว