การศึกษาและพัฒนาองค์ประกอบของความสุขในชีวิตสมรส
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์องค์ประกอบ, ความสุขในชีวิตสมรส, คู่สมรส, ข้าราชการทหารบกบทคัดย่อ
การดำเนินชีวิตของคู่สมรสในปัจจุบันมีความเปราะบาง ความสุขในชีวิตสมรสเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาการหย่าร้างในอนาคต การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบความสุขในชีวิตสมรส 2) ศึกษาระดับความสุขในชีวิตสมรส โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ คู่สมรสที่อย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นข้าราชการทหารบก โดยใช้ชีวิตสมรสร่วมกันมากกว่า 2 ปีขึ้นไป และปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่กองทัพภาคที่ 1 - 4 โดยที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในกองทัพภาค ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความสุขในชีวิตสมรส สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบความสุขในชีวิตสมรสมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านความคิด ประกอบด้วย ด้านท่าทีการสื่อสาร และด้านการสร้างความสัมพันธ์ และองค์ประกอบด้านทางอารมณ์ ประกอบด้วย ด้านความคาดหวังในชีวิตสมรส โดยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่า χ2 = 779.58 df = 392 p-value = 0.00000, χ2/df = 1.98, RMSEA = 0.048, RMR = 0.036, SRMR = 0.038, CFI = 0.99, GFI = 0.92, AGFI = 0.90, CN = 237.18 และระดับภาพรวมของความสุขในชีวิตสมรส พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการสร้างความสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 ด้านท่าทีการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.65 และด้านความคาดหวังในชีวิตสมรส มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 สรุปได้ว่า องค์ประกอบความสุขในชีวิตสมรสสามารถนำไปพัฒนาเครื่องมือในการเสริมสร้างความสุขในชีวิตสมรสได้ตรงตามบริบทและมีประสิทธิภาพ
References
กรมสุขภาพจิต. (2553). คู่มือการให้คำปรึกษาคู่สมรส. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2553). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาหลักการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฉัตร์รัตน์ เตือนสติกุล. (2564). การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสมรสของคู่สมรสด้วยการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุมัทนา สินสวัสดิ์. (2557). ครอบครัว:การจัดการความขัดแย้งของคู่สมรสเพื่อการครองรักอย่างยั่งยืน.ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการความขัดแย้ง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). อัตราการจดทะเบียนสมรสและอัตราการจดทะเบียนการหย่า. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3515
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2545). จิตวิทยาชีวิตคู่และการบำบัดคู่สมรส. กรุงเทพมหานคร: ซันต้าการพิมพ์.
จิรศักดิ์ สระบัวทอง และเสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2563). คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 6 (2). น. 165 – 181.
Anderson, J. R., Van Ryzin, M. J., & Doherty, W. J. (2010). Developmental trajectories of marital happiness in continuously married individuals: a group-based modeling approach. Journal of Family Psychology. 24 (5), pp. 587-596.
Glenn, N.D. (1990). Quantitative research on marital quality in the 1980s: A critical review. The Journal of Marriage and Family. 52 (4), pp. 818-831.
Hill, E. W. (1992). Marital and family therapy supervision: A relational-attachment model. Contemporary Family Therapy. 14, pp. 115-125.
Fatima, M., & Ajmal, M. A. (2012). Happy marriage: A qualitative study. Pakistan journal of social and clinical psychology. 9 (2), pp. 37-42.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginner’s Guide to. Structural Equation Modeling (3rd ed), New York: Taylor & Francis Group.
Willoughby, B. J., Carroll, J. S., & Busby, D. M. (2012). The different effects of “living together” Determining and comparing types of cohabiting couples. Journal of Social and Personal Relationships. 29 (3), pp. 397-419.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว