การพัฒนาธรรมนูญสุขภาพเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของคนในชุมชนแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษา เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พฤกษา ดอกกุหลาบ -
  • นพพร ระรินทร์

คำสำคัญ:

ธรรมนูญสุขภาพ, การสร้างเสริมสุขภาวะ, เขตทุ่งครุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหาสุขภาวะของประชาชนในเขตทุ่งครุ 2) พัฒนาธรรมนูญสุขภาพของคนในชุมชนเขตทุ่งครุแบบมีส่วนร่วม และ 3) ศึกษาผลการถอดบทเรียนการพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเขตทุ่งครุ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาในเชิงเอกสาร และการศึกษาเชิงคุณภาพในภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณะกรรมการยกร่างธรรมนูญสุขภาพเขตทุ่งครุ ประกอบด้วย ตัวแทนจากภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชนในเขตทุ่งครุ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย 2) ด้านสุขภาพ 3) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และ 4) ด้านการประกอบอาชีพ การจัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเขตทุ่งครุ ประกอบด้วยหมวดของธรรมนูญสุขภาพ 9 หมวด ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 2) การบริการสาธารณสุข 3) ด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย 4) การส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพ 5) ผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส 6) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 7) การป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชน 8) การส่งเสริมการประกอบอาชีพ และ 9) การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเขตทุ่งครุ และการถอดบทเรียนการพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเขตทุ่งครุ ประกอบด้วย 6 ประเด็น ได้แก่ 1) กระบวนการสำคัญในการพัฒนาธรรมนูญสุขภาพ 2) ปัจจัยสนับสนุนทั่วไปที่ส่งผลให้ธรรมนูญสุขภาพเกิดความสำเร็จ 3) การพัฒนาธรรมนูญสุขภาพในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ 4) กระบวนการ ช่องทาง และกลไกในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพให้ประสบความสำเร็จในเชิงประจักษ์ 5) ประโยชน์ของการทำธรรมนูญสุขภาพ และ 6) นวัตกรรมกระบวนการใหม่ทางสังคมที่ได้รับ

References

ฉัตรไชย รัตนไช. (2553). การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์แห่งมหาวิทยาลัย.

ธวัชชัย เคหะบาล และนิตยา เคหะบาล. (2565). การพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(3), น. 275-292.

เพ็ญ สุขมาก. (2553). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ: การประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพเครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพภาคเหนือ. สงขลา: สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศิริพร พุทธรังสี, ชวลี บุญโต, สายสมร เฉลยกิตติ, นุชรัตน์ มังคละคีรี และหทัยรัตน์ ขาวเอี่ยม. (2558). การสร้างเสริมสุขภาวะของบุคลากรทางการพยาบาลในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลทหารบก. 16(2), น. 8-14.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2555). ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่: บทเรียนการจัดทำและขับเคลื่อน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ๊นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2557). การขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ แห่งชาติ: รากฐานการจัดวางอิฐก้อนแรกของระบบสุขภาพพึงประสงค์. นนทบุรี: มาตา.

สำนักสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน. (2559). การจัดทำธรรมนูญตำบลสู่การจัดการตนเอง. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

องค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก. (2555). ธรรมนูญสุขภาพสู่ตำบลสุขภาวะ. ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2564, จาก http://www.dongmoonlaek.go.th/fileupload/783321062016162852.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29