รูปแบบการพัฒนาเยาวชน 4.0 เพื่อสร้างนวัตกรรมเชิงทักษะอาชีพ อย่างมีความคิดสร้างสรรค์
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนาเยาวชน 4.0, นวัตกรรมเชิงทักษะอาชีพ, ความคิดสร้างสรรค์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้เพื่อ 1) สร้างและใช้รูปแบบการพัฒนาเยาวชน 4.0 เพื่อสร้างนวัตกรรมเชิงทักษะอาชีพอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ 2) ติดตามผลการใช้รูปแบบและ 3) เผยแพร่รูปแบบดังกล่าว กลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนในชุมชน อบต.แคราย อ.กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ตามความสมัครใจ จำนวน 15 คน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาเยาวชน 4.0 เพื่อสร้างนวัตกรรมเชิงทักษะอาชีพอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ คือ การฝึกอบรมด้วยหลักสูตรเชิงปฏิบัติการโครงการการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21 ตามโครงสร้างที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งในกระบวนการฝึกอบรมจะเน้นการสื่อสารโดยมีการพูดคุยกัน (Talking) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การแสดงความคิดเห็นเชิงหลักการและเหตุผลของสิ่งนำเสนอ การคิดแก้ปัญหาตามที่โจทย์กำหนด การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น หรือหาแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาที่มีอยู่ และการนำเสนออย่างมีหลักการ รูปแบบนี้สามารถสร้างบุคลิกภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนตำบลแครายเพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมโครงการ เยาวชนสามารถจัดทำโครงการเชิงสร้างสรรค์จำนวน 3 โครงการ คือ กฎจราจรในไทยที่ต่างชาติต้องรู้ แยกขยะเพื่อโลก และธรรมนูญโรงเรียน เยาวชนได้สะท้อนคิดผลเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ในแต่ละด้านมีความรู้สึกสนุกสนานในการเรียนรู้ และได้นำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้พัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้งมีผลการประเมินความพึงพอใจ ความรู้ความเข้าใจ การนำไปใช้ในระดับมากถึงมากที่สุด ผลการติดตามการใช้รูปแบบการพัฒนา พบว่า เยาวชนทั้ง 15 คน เห็นว่าการฝึกอบรมสัมมนาตรงกับความคาดหวังหรือความต้องการ และได้รับประโยชน์จากการฝึกอบรมในระดับมาก การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้หลังการฝึกอบรมพบว่า กำลังวางแผนการสร้าง พัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์มากที่สุด และเห็นว่าปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้สามารถสร้างและพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ได้สำเร็จ คือ ความรู้และทักษะจากการอบรม การให้คำแนะนำของวิทยากรพี่เลี้ยงที่ให้คำแนะนำในการสร้างพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ ช่วยให้นวัตกรรมฯ เริ่มต้นได้ง่ายขึ้นการเผยแพร่รูปแบบการพัฒนาเยาวชน 4.0 สามารถนำไปขยายผล เพื่อพัฒนาเป็นโครงการที่มีประโยชน์ในการพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร ผู้ใหญ่ควรเปิดพื้นทีให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นและให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้กำลังใจเยาวชนได้สร้างสรรค์ผลงาน
References
จิราพร รอดพ่วง, มารุต พัฒผล, วิชัย วงษ์ใหญ่ และสุพิน บุญชูวงศ์. (2560). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ การคิดอย่างเป็นระบบ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู. Veridian e-Journal. 10 (1), น. 281-296.
ธารทิพย์ ขัวนา และ ขวัญชัย ขัวนา. (2561). การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงผลิตภาพทางการศึกษา : สู่ยุคการศึกษาไทยแลนด์ 4.0. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5 (2), น. 325-342.
เพ็ญนภา กุลนภาดล, ประชา อินัง, ทรงวุฒิ อยู่เอี่ยม และผลาดร สุวรรณโพธิ์. (2562). การพัฒนาทักษะอาชีพและการดำรงชีพ สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการเชิงจิตวิทยาเสริมสร้างศักยภาพแห่งตน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ. 20 (1), น. 15-27.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. (2561). วิสัยทัศน์ แผน และยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
วิลาวัลย์ อ่อนวงษ์เปรม. (2561). การจัดการการตลาดนวัตกรรมเพื่อความสำเร็จด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 5 (1), น. 117-133.
สิริชัย ดีเลิศ. (2558). กระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีอัตลักษณ์เชิงสร้างสรรค์. Veridian e-Journal. 8 (2), น. 1341-1360.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
เอกพรต สมุทธานนท์. (2553). แบบประเมินนวัตกรรมการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.gotoknow.org/posts/392717
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-06-03 (3)
- 2023-07-03 (2)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว