การศึกษาการทำแผนธุรกิจสำหรับสอนออนไลน์ผ่าน วีทูบเบอร์ (VTuber)

ผู้แต่ง

  • วรุตม์ ภาสุรกุล คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

วีทูบเบอร์, แผนธุรกิจ, สอนออนไลน์

บทคัดย่อ

การศึกษาการจัดทำแผนธุรกิจสำหรับสอนออนไลน์ผ่านวีทูบเบอร์ (VTuber) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในการทำวีทูบเบอร์ในปัจจุบัน 2) เปรียบเทียบข้อมูลพฤติกรรมการติดตามวีทูบเบอร์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดตามวีทูบเบอร์ และ 3) จัดทำแผนธุรกิจ
การสอนออนไลน์ผ่านวีทูบเบอร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้จัดการวีทูบเบอร์และตัววีทูบเบอร์ และการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณได้ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ติดตามวีทูบเบอร์จำนวน 400 ราย คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการติดตามวีทูบเบอร์ระหว่างลักษณะข้อมูลทั่วไป และพฤติกรรมการติดตามของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้สถิติ ได้แก่ Independent – sample t-test วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม และ F-test (one-way ANOVA) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวหากพบความแตกต่างจะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของ Fisher’s Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1) จุดแข็งคือมีความเป็นส่วนตัว (Privacy) สูงเนื่องจากปิดบังตัวจริงในการทำเนื้อหา (Content) สามารถทำแบรนด์ดิ้ง (Branding) ได้ง่าย จุดอ่อนคือการทำงานในโลกความจริงยุ่งยากกว่ากระบวนการสร้างตัวละครที่ใช้เวลาทำให้ต้นทุนแพงขึ้น โอกาสคือ การงดจัดกิจกรรมภายนอกทำให้เป็นโอกาสของวีทูบเบอร์ และเทคโนโลยีในการจับความเคลื่อนไหวสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น อุปสรรค-เศรษฐกิจหดตัวส่งผลให้คนใช้จ่ายเงินน้อยลง และวีทูบเบอร์ถือว่ายังอยู่ในวงแคบ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดตามในระดับมากที่สุด คือ คุยสนุก ในขณะที่ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกันส่งผลกับการติดตามวีทูบเบอร์ที่ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) แผนธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มในรูปแบบของ Market Place โดยดิจิทัลแพลตฟอร์มนี้จะมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญคือ 1. ผู้ที่อยากเป็นวีทูบเบอร์ 2. นักวาด นักดนตรี และนักทำโมเดล 3. ผู้ติดตามวีทูบเบอร์ รูปแบบธุรกิจนี้จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจำหน่ายเพลง และดนตรีประกอบที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นอีกช่องทางรายได้สำหรับนักดนตรี ในขณะที่นักวาดการ์ตูนสามารถลงผลงานให้ผู้ที่สนใจเป็นวีทูบเบอร์หน้าใหม่เข้ามาเลือกตัวละครเพื่อนำไปใช้ นอกจากนี้ จะมีการสอนออนไลน์ในรูปแบของเนื้อหาพิเศษ (Exclusive Content) ในวิชาต่าง ๆ ที่วีทูบเบอร์ถนัดรวมไปถึงการสอนดนตรีที่มีผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสนใจถึงร้อยละ 88.1 นักดนตรีรวมถึงบุคคลที่มีความสามารถด้านดนตรีสามารถร้อง-บรรเลงดนตรีทำเพลงคัฟเวอร์หรือสามารถทำเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรีด้านอื่นโดยใช้แพลตฟอร์มนี้ภายใต้อวตารของตัวการ์ตูน แก้ปัญหาเรื่องความไม่มั่นใจในบุคลิกหน้าตาทำเป็นอาชีพเสริมได้

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). กรมสุขภาพจิต แนะผู้สูงวัยไทยเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เน้นดูแลร่างกาย จิตใจ และสังคม. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565, จาก https://gnews.apps.go.th/news?news=53662

กัญฉกาจ ตระการบุญชัย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับชมและติดตามช่องรายการในยูทูบของกลุ่มเจเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์. 20 (1), น. 88-101.

กุลริสา อากาศวิภาต. (2563). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการชื่นชอบศิลปินเกาหลีของแฟนคลับชาวไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เดือนเพ็ญ จุ้ยประชา. (มปป.). ช่วยกันดันแฮชแท็กให้ขึ้นเทรนด์เถอะ คนรุ่นใหม่กับการขับเคลื่อน

สังคมด้วย#ทวิตเตอร์. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2565, จาก https://adaymagazine.com/thai-twitter-movement-report

ธงชัย ชลศิริพงษ์. (2561). มหาวิทยาลัยมีไว้ทำไม บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google-Apple-IBM-Starbucks รับสมัครแบบไม่สนปริญญา. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565, จาก https://brandinside.asia/companies-no-college-degree-require/

นฤมล ปิ่นโต. (2565). พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. วารสารศาสตร์. 15 (1), น. 157-197.

นิคม ชัยขุนพล. (2561). ลักษณะปฏิสัมพันธ์การสื่อสารจากพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ของคนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 27 (2), น. 55–65.

โพสต์ทูเดย์. (2563). 3 พฤติกรรมชาวไทยเปลี่ยนชัด หลังโควิด. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2566, จาก https://www.posttoday.com/economy/news/633987

วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา. (2564). เพราะการศึกษาหยุดไม่ได้ ต่างประเทศเรียนกันอย่างไรในช่วงโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2564, จาก https://www.eef.or.th/education-abroad-covid/

สิริพร สมบูรณ์บูรณะ. (2540). จากฟรอยด์...ถึงชินจัง : การ์ตูน เด็ก เซ็กส์ และศีลธรรม. วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์. 14 (2), น. 23-43.

สุชีพ กรรณสูต. (2552). แนวคิดวัฒนธรรมประชานิยม Popular Culture. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565, จาก http://sucheeppost.blogspot.com/2009/05/

Official Financial Consulting Supplier of the 19th Asian Games Hangzhou 2022. (2022). Global Entertainment and Media Outlook 2020-2024: China summary. Retrieved October 15, 2022, from https://www.pwccn.com/en/industries/telecommunications-media-and-technology/publications/china-entertainment-and-media-outlook-2020-2024.html

Playboard. (2022). อันดับวีทูบเบอร์ไทย. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565, จาก https://playboard.co/en/search?q=วีทูบเบอร์%20ไทย&sortTypeld=2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29