- ไชโป้วโพธาราม : ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรที่มีอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่

ผู้แต่ง

  • นภธีรา จวอรรถ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ชฎาพร โพคัยสวรรค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

ไชโป้วโพธาราม; หัวไชเท้า; แหล่งภูมิศาสตร์; ไชโป้วเค็ม; ไชโป้วหวาน

บทคัดย่อ

ไชโป้วโพธารามเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร มี 2 ชนิด ได้แก่ ไชโป้วเค็มและไชโป้วหวาน ที่ผลิตจากหัวไชเท้าโดยนำมาแปรรูปด้วยวิธีการดองเค็มและดองหวานซึ่งเป็นการถนอมอาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีรสชาติเค็มหรือหวานเค็มที่กลมกล่อม กรอบ และสีน้ำตาลสวย หัวไชเท้าที่นำมาแปรรูปเป็นไชโป้วของอำเภอโพธารามเป็นสายพันธุ์เบาของกลุ่มเอเชียที่เป็นพันธุ์แบบจีน มีลักษณะทางกายภาพ คือ  1) ผิวเรียบบาง 2) สีขาวทั้งผิวและเนื้อ 3) เนื้อแน่น ไม่ฝ่อ และ 4) รูปทรงเรียวยาวคล้ายกระบอก ปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายและปลูกในฤดูหนาว โดยเก็บเกี่ยวเฉพาะผลผลิตที่มีอายุ 42-48 วัน

  อำเภอโพธารามมีสภาพทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่มีอายุน้อยและมีหลายขนาดทำให้ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย และมีปฏิกิริยาเป็นด่างทำให้การปลูกหัวไชเท้ามีคุณภาพดี คือ มีผิวเรียบบาง เนื้อแน่น ไม่ฝ่อ รูปทรงเรียวยาวคล้ายกระบอกและน้ำหนักดี เมื่อนำมาผลิตไชโป้วจึงทำให้ได้ไชโป้วที่มีเนื้อกรอบ ไม่เปื่อยยุ่ย กอปรกับกระบวนการผลิตไชโป้วใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในพื้นที่โดยการทำไชโป้วเค็มใช้เกลือทะเลในการหมักหัวไชเท้าเป็นชั้น ๆ และการทำไชโป้วหวานใช้น้ำตาลทรายขาวในการหมัก ซึ่งกระบวนการผลิตดังกล่าวทำให้ได้ไชโป้วเค็มและไชโป้วหวานที่มีอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่ คือ มีรสชาติเค็มหรือหวานเค็มที่กลมกล่อม กรอบ และสีน้ำตาลสวย

References

กัลยาณี หยู่เอี่ยม. (2564, 12 มีนาคม). สัมภาษณ์. ผู้ประกอบการไชโป๊ตราชฎา. 49 หมู่ 3 ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี.กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2542). การปลูกพืชออร์แกนิค. กรุงเทพมหานคร : นูแมพ.

ไชโป๊หวานแม่บุญส่ง. (2564). ไชโป๊ของดีเจ็ดเสมียน. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://web.facebook.com/Maeboonsongbrand/?_rdc=1&_rdr.

เนาวรัตน์ ม่วงสุนทร. (2564, 20 มีนาคม). สัมภาษณ์. ผู้ประกอบการไชโป๊แม่เนาวรัตน์. 69 หมู่ 1 ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี.ปัณณรัตน์ วิทยารังสีพงษ์. (2564, 15 มีนาคม). สัมภาษณ์. ผู้ประกอบการไชโป๊แม่ระเบียบ. 120/1 หมู่ 1ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี.

พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2556). โพธาราม : ประเพณีจีนที่อาจเลือนหายไปตามกาลเวลา. วารสารรามคําแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 32 (1), น. 57 - 68.

พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2553). อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนในอำเภอโพธาราม: การคงอยู่และการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รักบ้านเกิด. (2552). ผักกาดหัว (หัวไชเท้า). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จาก https://rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=1163&s=tblplant.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565, จาก https:// dictionary.orst.go.th.

ริญญาศินีย์ แสงเนียม. (2564, 21 มีนาคม). สัมภาษณ์. ผู้ประกอบการไชโป๊แม่บุญส่ง. 91 หมู่ 1 ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี.

สรายุทธ สุกีธร และเสวก สุบรรณาเกตุ. (2548). ชุมชนชาวจีนในโพธาราม. ราชบุรี : สำนักพิมพ์ธรรมารักษ์. สัจจะ ประสงค์ทรัพย์. (2557). หัวไชเท้า. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://hort.ezathai.org/?p=3809.

สุทัศน์ ศุกลรัตนเมธี. (2556). สืบสานตำนานอาหารแต้จิ๋ว. กรุงเทพมหานคร : ตู้กับข้าว.

สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2561 - 2564 (ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2562). ราชบุรี : สำนักงานจังหวัดราชบุรี.

อุดม โกสัยสุข. (2539). การปลูกพืชกินดอกและหัว. กรุงเทพมหานคร : อักษรบัณฑิต.

ThaiQuote. (2564). “ไชโป๊เจ็ดเสมียน” ตำนานความอร่อย สืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก https://www.thaiquote.org/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28