ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตธนบุรี

ผู้แต่ง

  • อุษา จูฑะสุวรรณศิริ -

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ เขตธนบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษา 1. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยคุณภาพชีวิตด้านความเป็นอยู่ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและด้านความสามารถในการใช้จ่ายของผู้สูงอายุในเขตธนบุรี  2. เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตธนบุรีจำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในเขตธนบุรี อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างเชิงช่วงชั้นอย่างมีสัดส่วนและทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 5 ด้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นและแบบสอบถามโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

          ผลการวิจัยจากแบบสอบถามพบว่า ผู้ตอบส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 72 มีอายุ 60-65 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.50 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 68.25 มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 90.75 และแหล่งที่มาของรายได้มาจากธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 39.50 มีรายได้ต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 34 ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตธนบุรีโดยภาพรวม พบว่า อยู่ระดับปานกลาง (µ =3.176) เพื่อให้ผลการวิจัยชัดเจนยิ่งขึ้นจึงได้ทำการสัมภาษณ์คนจำนวน 10 คน ประกอบด้วย คนฐานะดี 2 คน ฐานะปานกลาง 6 คน และผู้มีสวัสดิการแห่งรัฐ 2 คน ผู้ตอบมีอายุในช่วง 60-70 ปี พบว่า คนที่มีฐานะดี มักมีปัญหาด้านร่างกาย แต่ได้รับการเอาใจใส่ดีจากลูกหลาน อารมณ์ดี สามารถซื้อทรัพย์สินโดยง่าย แต่คนที่มีฐานะปานกลางไม่ค่อยมีโรคประจำตัว มีความรู้สึกดีต่อสังคมและสภาพแวดล้อมปานกลางสามารถซื้อของเองโดยลำพัง และผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้านร่างกายค่อนข้างดี อารมณ์ดี การตัดสินใจซื้อทำได้น้อย ต้องตื่นเช้า ด้านสังคมและสภาพแวดล้อม มักไม่ค่อยมีเพราะต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่2 พ.ศ.2545-2564 ฉบับปรับปรุงครั้งที่1 พ.ศ. 2552 ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563, จาก https://dop.go.th/th/laws/1/28/766.

กรมสุขภาพจิต. (2562). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2563, จาก https://dmh.go.th/test/whoqol/.

กิตติวงค์ สาสวด. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย , 11 (2), 21-38.

เกสร มุ้ยจีน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 23 (2), น. 307-318.

เบญจพร ศรีดี. (2563, 4 เมษายน). สวางคนิเวศ คอนโดมิเนียมระดับ Middle Class สำหรับ “ผู้สูงอายุ”. มติชน, น. 1.

บุญชม ศรีสะอาด. 2541. วิธีการทางสถิติสําหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาร์น.

ปราณ สุวรรณทัต. (2564). วางแผนก่อนใช้ ไม่อดตายแน่นอน เปิด 5วิธีบริหารเรื่องเงินยังไงภายใต้วิกฤตโควิด-19. ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564, จาก https://brandinside.asia/money-management-during-covid19.

พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว. (2559). การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย.

วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและ สิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2562. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564, จาก http://www.thaieldery2019_EBOOK%20(1).pdf

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณวิมล เมฆวิมล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

วินย์ ฉายศิริโชติ. (2563, 10 พฤษภาคม). สัมภาษณ์ ที่ปรึกษาทางการลงทุน. สยาม เว็ลธ์ แมเนจเมนท์.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.

สรศาสตร์ สุขเจริญสิน. (2564). เงินการออมและความสุข. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2564, จาก https.//www.posttoday.com/finance-stock/columinist/649142.

สำนักงานเขตธนบุรี (2562). จำนวนผู้สูงอายุในเขตธนบุรี. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก https://webportal.bangkok.go.th/thonburi.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). สำมะโนประชากรและเคหะ. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2563, จาก http://www.nso.go.th.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities Educational and Psychological Measurement, 30 (3), pp. 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28