ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้าเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ทัศนา หงษ์มา -

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ภาพลักษณ์ตราสินค้า; คุณค่าตราสินค้า; ความจงรักภักดีในตราสินค้า; เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี 2) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อคุณค่าตราสินค้าเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี 3) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อความจงรักภักดีในตราสินค้าเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี 4) ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้า เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

สรุปผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 74.25 อายุระหว่าง 21 - 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.75 ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 45.75 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 33.25 สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 50.25 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 – 25,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.50 ประเภทของเครื่องสำอางที่ใช้มากที่สุด คือ เครื่องสำอางสำหรับใบหน้า คิดเป็นร้อยละ 60.00 ภาพลักษณ์ตราสินค้าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คุณค่าตราสินค้าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อความจงรักภักดีในตราสินค้าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ภาพลักษณ์ตราสินค้ามีความสัมพันธ์ในระดับมากกับความจงรักภักดีในตราสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคุณค่าตราสินค้ามีความสัมพันธ์ในระดับมากกับความจงรักภักดีในตราสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กัญญ์วรา ไทยหาญ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศในอําเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรุงไทย. (2560). ตลาดเครื่องสำอาง. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2564, จาก https://sme.krungthai.com/sme/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=32&itemId=60.

ฉัตรรัตน์ พุฒิวีระพงศ์. (2561). วิเคราะห์ธุรกิจความงามและสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564, จาก https://taokaemai.com.

ปรารถนา รุกขชาติ. (2559). ภาพลักษณ์ตราสินค้า OTOP และการสร้างตราสินค้าน้ำพริกกุ้งกรอบที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยทางการตลาดของผู้ประกอบการในจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). ภาพลักษณ์ของแบรนด์. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2564, จาก https://www.popticles.com/branding/brand-image.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วงศกร อุไรวงศ์. (2561). การรับรู้บุคลิกภาพและภาพลักษณ์ตราสินค้ารองเท้าฟุตบอลจากนักกีฬาฟุตบอลสมัครเล่นในกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ศิริกุล สัมฤทธิ์นันท์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้ากับพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางเกาหลีของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์. (2558). สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2564, จาก http://www.osmnortheast-s2.moi.go.th.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2552). หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธาสินี จันทร์แจ่มใส. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด ภาพลักษณ์ตราสินค้ากับความจงรักภักดีของผู้ใช้โทรศัพท์สมารท์โฟนในสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี : ม.ป.ท.

Aaker, D.A. (2010). Aaker on Branding 20 : Principles that Drive Success. New York : Morgan James Publishing.

Aaker, D.A. (1991). Managing Brand Equity : Capitalizing on the Value of a Brand Name. New York : The Free Press.

Aghaei, M (2014). An examination of the relationship between services marketing mix and brand equity dimensions. n.p.

Clow, K.E., & Baack, D. (2005). Brand and brand equity concise encyclopedia of advertising. New York : Routledge.

Evans, J.D. (1996). Straightforward Statistics for the Behavioral Sciences. n.p.

Kotler, P. (2000). Marketing management. New Jersey : Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28