การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ผู้แต่ง

  • ปรีชา ธนะวิบูลย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • จีรภัทร อาดนารี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • นงเยาว์ อุทุมพร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

activity organization model, moral and ethics, honesty

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัย เพื่อนำมาใช้ในการสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ3) นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ และ 4) ประเมินกระบวนการพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการวิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียนรวม 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) รวมใช้เวลา 40 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบพบว่า มีค่า E1/ E2 เท่ากับ 82.22/81.33 และ 3) ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 3.1 นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย ความรู้ เจตคติทางคุณธรรมจริยธรรม เหตุผลเชิงคุณธรรมจริยธรรม และพฤติกรรมทางคุณธรรมจริยธรรม ด้านความซื่อสัตย์สุจริตหลังสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3.2 นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก

References

ทิศนา แขมมณี. (2549). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร : เมธีทิปส์.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.

นงเยาว์ อุทุมพร. (2561). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปใช้บูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างยั่งยืน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์ และวรรณพล พิมพะสาลี. (2562). แนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 9 (2), น. 63–80.

พรรณี ช. เจนจิต. (2550). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2553). การสอนระดับประถมศึกษา 2. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิริวรรณ ฉันทนะสานนท์. (2541). ผลของกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความเอื้อเฟื้อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์สีลม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาภรณ์ แก่นทอง. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนแบบ“ร่วมกันสร้างความรู้และเรียนรู้อย่างมีความสุข”. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุวิทย์ สุขหมั่น. (2546). ผลของการใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพัฒนาเด็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2550). คุณธรรมนำความรู้ รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

Bandura, A. (1977). Social Cognitive theory. Annals of Child Development. 6, pp. 1-60.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E Model. Science Education. 5 (6), pp. 57-59.

Joyce B., & Weil M. (1996). Model of Teaching. 5th ed. Boston : Allyn and Bacon.

Kohlberg, L. (1976). “Moral Stages and Moralization”; The Cognitive Development Approach, in Moral Development and Behavior: theory. Research and Social. New York : Holt Rinehart and Winston. pp.33-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29