การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออาหารริมทาง ณ ตลาดนัดจตุจักร กรุงเทพมหานคร

A Study of Marketing mix factors influencing Thai tourists decision of selecting street food at Chatuchak Weekend Market Bangkok

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา นาถนวผดุง -
  • พัชราภา แสงสว่าง สาขาอุตสาหกรรมการบริการและท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออาหารริมทาง ณ ตลาดนัดจตุจักร กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างใช้นักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 20-30 ปี ประกอบอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท โดยรวมมีความคิดเห็นต่อด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลอยู่ที่ 0.82 ด้านราคาอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.76 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลอยู่ที่ 0.90 ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลอยู่ที่ 0.99 และด้านส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลอยู่ที่ 0.98

 

คำสำคัญ: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออาหารริมทาง

References

ไทยพีบีเอส. (2560, 17 มีนาคม). “ซีเอ็นเอ็น” ยกกรุงเทพฯ สวรรค์แห่งอาหารริมทางดีที่สุดในโลกปีที่ 2ติดต่อกัน. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/268331.

อมราพร อุตมาภิรักษ์. (2565). การศึกษาพฤติกรรม ทัศนคติ และความไว้วางใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความสัมพันธ์ต่อการซื้อซ้ำอาหารริมถนนในย่านเยาวราช. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Best, J.W. (1977). Research in Education. New Jersey : Prentice hall Inc.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons. Inc.

Gaor, J.J, Lesama, A.J, Ganza G, Dollente M, Opalia J.A, Bangalisan R. (2020). Pinoy Unlimited Street Foods. Ascendens Asia Singapore – Bestlink College of the Philippines Journal of Multidisciplinary Research Abstracts. 2 (1), p. 147 - 158.

Marketeer. (2562). แข่งอะไรแข่งได้แต่แข่งกับ “เสน่ห์ของตลาดนัดกลางแจ้งสวนจตุจักร” นั้นไม่ง่าย. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://marketeeronline.co/archives/120135.

Nguyen T.L.P & Supak Mahavarakorn (2020). Culture and Ways of Life in Thai and Vietnamese Street Food. Institute of Culture and Arts Journal. 22 (1), p. 85 - 97.

Pongpat Runla & Pakamsa Chairatana. (2019). The Marketing Mix Affecting Decision to Buy Street Food at Train Night Market Ratchada. Dusit Thani College Journal. 14 (3), p. 355 - 368.

TCIJ. (2562). "Street food กรุงเทพฯ" ถึงเวลา (รัฐ) ประหารหรือส่งเสริม. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.tcijthai.com/news/2019/07/scoop/9191.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28