ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการบริหารองค์การบริหาร ส่วนตำบลอำเภอบางบัวทองจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • saovanard leklersindhu -

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล, ความสำเร็จของการบริหาร, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการบริหารองค์การส่วนตำบลอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี (2) ศึกษาระดับความสำเร็จของการบริหารองค์การส่วนตำบลอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี (3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จของการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 239 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านทักษะของบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านครุภัณฑ์ ด้านการบริการ ด้านระบบงาน และด้านการสื่อสาร 2) ระดับความสำเร็จของการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณ ด้านผลการพัฒนาองค์กร ด้านผลความพึงพอใจของผู้มารับบริการ ด้านผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และด้านประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ 3) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล โดยใช้ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นตัวแปรพยากรณ์ระดับความสำเร็จของการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า ด้านการบริการ ด้านครุภัณฑ์ และด้านระบบงาน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสำเร็จของการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 สามารถพยากรณ์ระดับความสำเร็จของการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลได้ร้อยละ 86.90 สร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนเดิม (ความสำเร็จในการบริหาร) = 0.493+0.360(การบริการ)+0.300(ครุภัณฑ์)+ 0.223(ระบบงาน) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z(ความสำเร็จของการบริหาร) = 0.433(Zการบริการ) +0.323(Zครุภัณฑ์)+0.255(Zระบบงาน)

References

ซุบรี ม่วงกุ้ง. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พีรพัศ โหถนอม. (2556). อนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), หน้า 241-253.

วิเชียร วิทยอุดม. (2550). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธนวัชการพิมพ์จำกัด.

ศูนย์การบริการข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนนทบุรี. (2562). ข้อมูลจำนวนประชากร.

สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ (2555). เอกสารสอนวิชาการบริหารทรัพยากรบริหารสถานศึกษา. คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.

อานันท์ ชินบุตร. (2554). ปลุกพลังชีวิต: สู่ความมั่งคั่งรุ่งเรืองตลอดกาล. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

Best, John W. (2001). Research in Education. New Jessey: Englewood Cliffo.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30 — Updated on 2022-06-30

Versions