การพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมต้นแบบจากความหลากหลายตามแบบวิถีศาสนา ความเชื่อ ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วีรชัย คำธร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ณัฐวัฒน์ เดชสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ภักดี โพธิ์สิงห์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มุ่งสังเคราะห์แนวทางพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมต้นแบบ จากความหลากหลายตามแบบวิถี ศาสนา ความเชื่อในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร  การวิจัยนี้ใช้วิธีดำเนินการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ หน่วยในการวิเคราะห์ ได้แก่ แผนงานวิจัย จำนวน 10 โครงการ มีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ กำหนดเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เป็นบุคคลที่มีบทบาทในชุมชน มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยว มีจิตอาสาที่จะพัฒนาชุมชนด้านการท่องเที่ยว อีกทั้งศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร และแบบสอบสอบถาม เพื่อประเมินแผนงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเพื่อประเมินความคิดเห็นต่อแผนงานวิจัยบูรณาการ

          ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของแผนงานวิจัยบูรณาการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มึความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.35) โดยแผนงานฯ ที่พบผลดีเชิงประจักษ์ คือ (1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ (2) การพัฒนาฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรม เช่น การสร้างศูนย์ข้อมูลทางวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ (3) การพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4) การพัฒนาแอพพลิเคชั่นส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น การพัฒนาระบบที่ง่ายสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ (5) การพัฒนาสมการพยากรณ์ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

References

กษิดิศ ใจผาวัง. (2561). แนวทางการประยุกต์ใช้ CIPP Model เพื่อวัดความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนที่มีการใช้กลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 13, (2), กรกฏาคม-ธันวาคม, 60-84.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2559). เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย. คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2561). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบไม่รีบเร่ง อำเภอพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์, 12, (1), มกราคม-เมษายน, 246-254.

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์ 18, (1), 31-50.

บุญเลิศ ตั้งจิตวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพ: บริษัท เพรสแอนด์ ดีไซน์ จำกัด.

พยอม ธรรมบุตร. (2561). แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของแขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 12, (1), มกราคม-เมษายน, 84-95.

พริ้มพักตร์ ไชยมี. (2559). การประเมินคุณภาพด้านการบริการนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอเมืองอุดบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7 (2), กรกฏาคม-ธันวาคม, 42-54.

พรพิษณุ พรหมศิวพัลลภ และคณะ. (2548). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, สำนักงานกองทุนสนับสนุน

การวิจัย (สกว.)

วีรชัย คำธร. (2563). แผนงานวิจัยเชิงบูรณาการการพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมต้นแบบจากความหลากหลายตามแบบวิถี ศาสนา ความเชื่อในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร.รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กรุงเทพฯ.

ศิระ ศรีโยธิน. (2560). การสื่อสารองค์กร : เครือมือสำคัญของนักการตลาดยุค Thailand 4.0.

Veridian E-Journal, Sripakorn University. 10 (3), 1267-1276.

ยุคลวัชร์ ภักดีจักธิวุฒิ, เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2562). ศักยภาพชุมชนด้านการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวแก่แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7 (2), กรกฏาคม-ธันวาคม, 254-262.

Ch’aska Huayhuaca, Stuart Cottrell and Jana Raadik, Sabine Gradl. (2010). Resident perceptions of sustainable tourism development: Frankenwald Nature Park, Germany. Int. J. Tourism Policy, Vol. 3, No. 2, 2010, 125-141.

Francisco Javier Blancas, Mercedes Gonzalez, Macarena Lozano-Oyola, Fatima Perez.

(2010). The assessment of sustainable tourism: Application to Spanish coastal Destinations. Ecological Indicators 10, (2010) 484–492.

Fujun Shen, Stuart P. Cottrell. (2008). A sustainable tourism framework for monitoring residents’ satisfaction with agritourism in Chongdugou Village, China. Int. J. Tourism Policy, Vol. 1, No. 4, 368-376.

Kanoknarn Kaewnuch. (2018). Participatory Factors for Managing Community-Based Tourism. Journal of International and Thai Tourism. 14 (1),

Mónica García-Melón, Tomás Gómez-Navarro, Silvia Acuña-Dutra. (2010). An ANP approach ot assess the sustainability of rourist strategies for the coastal national parks of Venezuela. Technological and Economic Development of Economy, 16, (4): 672-689.

Stuart P. Cottrell, Jerry J. Vaske, Fujum Shen. (2011). Modeling Resident Perceptions of Sustainable Tourism Development: Applications in Holland and China. Modeling Resident Perceptions of Sustainable Tourism Development: Applications in Holland and China, 219-234.

Regina Scheyvens and Robin Biddulph. (2017). Inclusive tourism development.Tourism Geographies An International Journal of Tourism Space, Place and Environment. https://doi.org/10.1080/14616688.2017.1381985

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30 — Updated on 2022-06-30

Versions