การเปรียบเทียบกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราดและ ชุมชนท่องเที่ยวหนองบัว จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • Suttinun Sotwitee -

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว  จังหวัดตราด (2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท่องเที่ยวหนองบัว จังหวัดจันทบุรี และ (3) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว  จังหวัดตราด  และชุมชนท่องเที่ยวหนองบัว จังหวัดจันทบุรี  การดำเนินงานวิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบแบบเจาะจงจากเครื่องมือและวิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบด้วย การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม  การระดมความคิดเห็นและการสนทนากลุ่ม  ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว  จังหวัดตราด  พัฒนาผลิตภัณฑ์ “ข้าวเกรียบหอยปากเป็ด” ตามแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบ 5Cs โมเดล ได้แก่ ข้อตกลงร่วมกัน  ความร่วมมือกัน  ผลิตภัณฑ์ชุมชน  การสื่อสารและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  ส่วนผลิตภัณฑ์น้ำพริก “แซ่บ” เป็นผลผลิตจากชุมชนท่องเที่ยวหนองบัวถูกพัฒนาตามแนวทาง 3Ds โมเดล ได้แก่ การเข้าถึงปัญหา  การออกแบบและการพัฒนา  การเปรียบเทียบกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญคือการมีส่วนร่วม  การสื่อสารและการเข้าถึงเทคโนโลยี  ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าทั้ง 2 ชุมชนมีทิศทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละชุมชน

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2559). รายงานผลการดำเนินงานการดำเนินงานการจัดทำชุดองค์ความรู้การดำเนินงานของ อพท. ภายใต้เกณฑ์ GSTC. กรุงเทพมหานคร: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

จุฑารัตน์ เจือจิ้น. (2555). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล และภาคินี เปล่งดีสกุล. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ชุมชนรอบเขื่อนจุฬาภรณ์ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาน้ำจืดแม่สมศรี ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10 (2), หน้า 206-230.

เปรมปรีดา ทองลา. (2562). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. ใน สำราญ บุญเจริญ (บรรณาธิการ). รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562. (หน้า 299-305). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

ระพินทร์ รังสีเสนีย์พิทักษ์. (2558). แนวทางการปรับเปลี่ยนการใช้สอยมรดกสถาปัตยกรรมเพื่อส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคมและการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนตลาดหนองบัว จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศราวุธ พจนศิลป. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 ของจังหวัดเพชรบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 14 (2), หน้า 41-55.

เอกชัย ใยพิมล และดนัย ทายตะคุ. (2561). บทบาทของสวนบ้านและแหล่งอาหารชุมชน ต่อระบบอาหารรครัวเรือน กรณีศึกษา บ้านโนนสะอาด จังหวัดขอนแก่น. สาระศาสตร์. 3, หน้า 556-570.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17 (1), หน้า 17-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30 — Updated on 2022-06-30

Versions