ถอดบทเรียนห่วงโซ่คุณค่าระบบการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่โนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • Sirisorncharoen Kamonlimsakun Nakhonratchasima Rajabhat University

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนห่วงโซ่คุณค่าของระบบการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่โนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหาร คณะกรรมการ และสมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่โนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 10 คน ที่เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่มาตั้งแต่เริ่มต้น และมีศักยภาพในการบริหารจัดการที่ดีเหมาะกับการนำมาถอดบทเรียนเพื่อเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มแปลงใหญ่อื่น ๆ ได้ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสนทนากลุ่ม การประชุมระดมสมอง และการจัดเวทีคืนข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์สรุปอุปนัย การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลด้วยการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล ด้านผู้วิจัย และด้านวิธีรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าห่วงโซ่คุณค่านาแปลงใหญ่ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม ได้แก่ โลจิสติกส์ขาเข้า การปฏิบัติการ โลจิสติกส์ขาออก การตลาดและการขาย และการบริการ กิจกรรมสนับสนุน 4 กิจกรรม ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี และการจัดซื้อจัดหา คุณค่าที่สำคัญของการรวมกลุ่มผลิตข้าวแบบนาแปลงใหญ่ คือ การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพของผลผลิต การเชื่อมโยงตลาด การบริหารจัดการกลุ่ม และการได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของกลุ่มนาแปลงใหญ่ คือ การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกฝ่ายในการร่วมกันคิด วางแผน ปฏิบัติการ ติดตาม ประเมินผล และรับผลประโยชน์ร่วมกัน

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2559). คู่มือการดําเนินงานการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. กรุงเทพ : กรมส่งเสริมการเกษตร.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). แผนภูมิสรุปแปลงใหญ่จังหวัดนครราชสีมา. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2564, จาก https://co-farm.doae.go.th/graph/Reportsmry.php?cmd=search&sv_province_name=นครราชสีมา.

จิรวุฒิ มงคล. (2557). ความต้องการการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

ปริญญ์ วินิจมงคลสิน. (2560). ความสัมพันธ์ทางสังคมในระบบการค้าข้าวภายใต้บริบทนโยบายที่เปลี่ยนแปลง : ศึกษากรณีระบบค้าข้าว อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พลสราญ สราญรมย์. (2558). การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าเพื่อการพัฒนาระบบการผลิตมังคุดของไทย : บทเรียนจากกลุ่มมังคุดคุณภาพท่ามะพลา จ.ชุมพร. วารสารเกษตร มสธ. 1 (1), หน้า 73-82.

รังสิตา บุญโชติ และอาแว มะแส (2559). การมีส่วนร่วมในวิสาหกิจชุมชนกับคุณภาพสังคมของประชาชน ในชุมชนท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ การบริหารการพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร ประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนิด้า : หน้า 106-119.

เริงชัย ตันสุชาติ, อารีย์ เชื้อเมืองพาน, ธรรญชนก คำแก้ว และชนิตา พันธุ์มณี. (2557). ห่วงโซ่คุณค่าของปลานิลในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วิทยากร เชียงกูล. (2562, 28 มกราคม). ทำไมเกษตรกรไทยถึงจน และแก้ไขได้อย่างไร. กรุงเทพธุรกิจ. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646452.

ศิริสรณ์เจริญ กมลลิ้มสกุล, ทวี วัชระเกียรติศักดิ์, ดวงพร กิจอาทร, และสุวรรณา เตชะธีระปรีดา. (2560). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานข้าวจังหวัดนครราชสีมา: สถานการณ์ปัจจุบัน ความเชื่อมโยง ปัญหา และแนวทางการพัฒนา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 11 (2), หน้า 119-143.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2563). ข้าวนาปี : เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ปีเพาะปลูก 2562/63 ที่ความชื้น 15%. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2564, จาก http://www.oae.go. th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/major%20rice%2062.pdf.

สำราญ สาราบรรณ์, ปริญญารัตน์ ภูศิริ, พรพรรณ สุทธิเรืองวงศ์, ศุกล โฆษิตโภคิน, ธีรภัทร์ คุมครอง, รัฐภูมิ ศรีอำไพ และจุฑามาศ กรีพานิช. (2555). รายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เรื่อง โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง ปี 2554. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตร.

อรวรรณ ศรีโสมพันธ์ ทัตพิชา เจริญรัตน์ และน้ำฟ้า ทิพยเนตร. (2557). โครงสร้างการผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Jirarud, S., Suwanmaneepong, S.and Mankeb, P. (2016). Farmer and farm characteristics affecting rice production on large agricultural plot scheme: A case of KhlongKhuean district, Chachoengsao province, Thailand. International Journal of Agricultural Technology. 12 (7.2), pp. 1821-1831.

Nagaraj, B. V., & Krishnegowda, Y. T. (2015). Value chain analysis for derived product from paddy: A case study of Karnataka state. International Journal of Managing Value and Supply Chains, 6 (1), pp. 33-52.

Najim, M. M. M., Lee, T. S., Haque, M. A., & Esham, M. (2007). Sustainability of rice production: A Malaysian perspective. The Journal of Agricultural Sciences, 3 (1), pp. 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30 — Updated on 2022-06-30

Versions