การพัฒนาสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ในการสร้างความเชื่อมั่นในการปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • นิรมล บางพระ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ธนพล สมพลกรัง สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาสื่อ, ชุมชนวิถีใหม่, จังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาสื่อและการประเมินผลลัพธ์ของการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์สำหรับสร้างความเชื่อมั่นในการปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยเครื่องมือในการวิจัย คือ  แบบสัมภาษณ์   (Interview) โดยการสัมภาษณ์ ได้แก่ สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ ผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการด้านการผลิตสื่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการพรรณนาวิเคราะห์และตีความโดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการประชาสัมพันธ์และการออกแบบสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ สังเคราะห์ข้อมูล กำหนดประเด็นแนวทางการพัฒนาสื่อ  สร้างและพัฒนาสื่อ วิพากษ์ปรับแก้สื่อให้เหมาะสม และประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้สื่อผ่านช่องทางต่าง ๆ ไปยังประชาชนเป้าหมาย

         ผลการวิจัยพบว่า ภาครัฐทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และหมู่บ้านได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดโควิด-19 หลากหลายรูปแบบ เช่น สถานการณ์ของโรค  สาเหตุ อาการ การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในการรักษา  ขั้นตอนการรักษา  ความรุนแรงของโรค ลักษณะอาการ  และวิธีการป้องกันตนเอง และมีการใช้สื่อในการสื่อสารหลากหลายประเภททั้งสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่อสังคมออนไลน์ และสื่อกิจกรรม ในขณะที่ประชาชนยังต้องการข้อมูลบางประการ เช่น เหตุผลความจำเป็นที่ประชาชนต้องปฏิบัติตามประกาศจังหวัดสมุทรปราการในเรื่องมาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิค-19 หรือนโยบายและประกาศของจังหวัดสมุทรปราการในประเด็นต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย และเมื่อนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มภาคีเครือข่ายจังหวัดสมุทรปราการมาสังเคราะห์จึงได้ข้อสรุปในการพัฒนาสื่อดังนี้ สื่อที่ควรพัฒนาออกแบบและสร้างสรรค์มี 2 ประเภท คือ 1.สื่อ โดยสื่อวิดีทัศน์ ชื่อชุดว่า “#สมุทรปราการ ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก” และ 2.สื่อเสียง สำหรับสื่อเสียงนั้นมีทั้งหมด 5 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 happy birthday song ชุดที่ 2 บทกลอนป้องกันโควิด-19  ชุดที่ 3 ไม่แซ่บ ไม่หอม ชุดที่ 4 สังเกตตนเอง ชุดที่ 5 การ์ดอย่าตก สำหรับสื่อเสียงในชุดที่ 4 และ ชุดที่ 5 ได้มีการเพิ่มเติมภาษาต่างประเทศ 2 ภาษา คือ ภาษาเมียนมาร์และภาษากัมพูชา

References

บรรณานุกรม

กมลรัตน์ (ศักดิ์สมบูรณ์) เทอร์เนอร์ และ ศุภาพิชญ์ (มณีสาคร) โฟน โบร์แมนน์ (2556) พฤติกรรมการใช้

บริการสุขภาพและการรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพของชาวต่างชาติในประเทศไทย.

วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2556) หน้า 1-29.

จารุวรรณ กิตตินราภรณ์ (2564) การใช้สื่อกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปกติใหม่ด้านสุขภาพ

ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-19) : กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี.

วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2564) หน้า 15-34.

บุษยากร ตีระพฤติกุลชัย (2561) ปัญหาในการสื่อสารและการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวต่างชาติที่

ทำงานในสถาบันการศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 50 มกราคม - เมษายน 2561 หน้า 189-212.

พนม คลี่ฉายา (2555) เอกสารการสอนชุดวิชา การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ : หน่วยที่ 3

เรื่อง การออกแบบสารเพื่อการประชาสัมพันธ์. นนทบรี : พิมพ์ครั้งที่ 1. ศูนย์หนังสือ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิภาวิน โมสูงเนิน (2553 ) การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัด

ใหญ่สายพันธ์ุใหม่ 2009. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารประยุกต์) คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมิทธิ์ บุญชุติมา (2561) การใช้เครื่องมือสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ (การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ

กระจายภาพและเสียง อินเตอร์เน็ต และสื่อกิจกรรมพิเศษ). กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ 1.

บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สิโรดม มณีแฮด และ ศรินญา นิยมวงศ์ (2563) การออกแบบเรขภาพข่าวสำหรับการสื่อสารสาธารณสุข

ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของสำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2563 หน้า 150-165.

Doug Newsom and Jim Haynes (2008) Public Relations Writing From and Style.

Wadsworth Publishing; 8 edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30 — Updated on 2022-06-30

Versions