การจัดการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหว

ผู้แต่ง

  • นุชรา แสวงสุข -

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว, นักท่องเที่ยว, คนพิการทางการเคลื่อนไหว

บทคัดย่อ

คนพิการทางการเคลื่อนไหวนั้นถือเป็นประเภทของคนพิการที่มีจำนวนมากที่สุดของประเทศไทย โดยคนพิการทางการเคลื่อนไหวนั้นประสบปัญหาทางด้านการท่องเที่ยวมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวภายในแหล่งท่องเที่ยวที่มีไม่เพียงพอและไม่สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงปัญหาทางด้านบุคลากรการท่องเที่ยวที่ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องและมีทัศนคติทางลบต่อนักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหว อีกทั้งยังประสบปัญหาเกี่ยวกิจกรรมภายในแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหวไม่สามารถเข้าร่วมได้

            การศึกษาการจัดการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหวนั้น ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1. การจัดการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหว มี 6 ด้านย่อย ได้แก่ ด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านกระบวนการศึกษาสิ่งแวดล้อม ด้านธุรกิจท่องเที่ยว ด้านการตลาดท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมทางการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น และด้านจิตสำนึกทางการท่องเที่ยว 2. การพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหว มี 3 ด้านย่อย ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล และ3. การจัดกิจกรรมนันทนาการในแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับกลุ่มนักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหว โดยเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องมีการเคลื่อนไหวมากนัก เน้นกิจกรรมที่ใช้การสื่อสารและทักษะด้านสติปัญญา นักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหวสามารถเข้าร่วมได้โดยปลอดภัย และมีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้นักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหวสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยปราศจากอุปสรรค

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). สถิติข้อมูลคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ จำแนก ตามจังหวัด ประเภทความพิการ และเพศ. ค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2564, จาก http://data.go.th.

__________. (2561). สถานการณ์คุณภาพชีวิตคนพิการของประเทศไทยประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพ เพ็ญวานิสย์.

ชูกลิ่น อุ่นวิจิตร และคณะ. (2557). แนวทางการพัฒนาการนันทนาการและการท่องเที่ยวเพื่อคนพิการในจังหวัด เชียงราย. วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 10(13), 36-50.

ธิดารัตน์ นงค์ทอง. (2560). การให้ความช่วยเหลือคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.snmri.go.th/snmri/download/train/ud/ud1_60.pdf.

นุชรา แสวงสุข. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในพื้นที่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

__________. (2560). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกาย. วารสารวิชาการ ท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(1), 57-82.

ประพัฒน์ เขียวประภัสสร และนุชรา แสวงสุข. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พิทักษ์ ศิริวงศ์ และปัทมอร เส็งแดง. (2554). การท่องเที่ยวของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในสังคมไทย. Veridian E-Journal. 4(2), 221-228.

The National Disability Rights Network. (2017). สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะของคน พิการ. ค้น เมื่อ 29 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.protectionandadvocacy.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30 — Updated on 2022-06-30

Versions