การจัดการความรู้และการถอดบทเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการสู่หลักสูตรสถานศึกษาในอำเภอเมืองสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • จีรภัทร อาดนารี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ปรีชา ธนะวิบูลย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • นงเยาว์ อุทุมพร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, การถอดบทเรียน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, หลักสูตรสถานศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการจัดการความรู้และการถอดบทเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอเมืองสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาการบูรณาการองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอเมืองสมุทรปราการสู่หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 10 คน รวม 12 ภูมิปัญญา ศึกษานิเทศก์ ครู/อาจารย์ผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงมีค่า 0.80-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอเมืองสมุทรปราการ ทั้งหมดเป็นเพศหญิง มีอายุ 40 - 60 ปีและ 61 ปีขึ้นไปจำนวนเท่ากัน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาศัยอยู่ในตำบลบางด้วนมากที่สุด ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือและมีความเก่าแก่ สาขาที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากที่สุดคือสาขาศิลปกรรม (ด้านหัตถกรรม) รองลงมาคือ สาขาคหกรรมด้านอาหาร กระบวนการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์มีลักษณะที่แตกต่างกันคือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสืบทอดจากบรรพบุรุษ การเรียนรู้จากครูอาจารย์ และการรับการฝึกอบรม สำหรับกรรมวิธีในการผลิตไม่ซับซ้อนเน้นการผลิตที่ทำกันได้ง่ายและใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น 2) การบูรณาการองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอเมืองสมุทรปราการสู่หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้ สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้ทั้งในรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยสามารถนำไปบูรณาการในสาระการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด และหลักการใช้ภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3

References

จำเริญ กิมประสิทธิ์. (2549). การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 2 จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

นิตยา เกตุครุฑ. (2550). รูปแบบการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการพัฒนาไม้ผลตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

เรไร ไพรวรรณ์. (2553). คติชนและภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย และชลธิชา หอมฟุ้ง. (2560). การพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน. วารสาร Veridian E – Journail Silpakorn University. 11 (3), น. 2551 - 2563.

สมหมาย สว่างวัฒนารักษ์. (2546). การศึกษาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตธนบุรี. (2557). เอกสารโครงการธนาคารคลังสมองกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเขตธนบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร : 21 เซ็นจูรี่.

อังคณา ขจร. (2559). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาเพิ่มเติมสาระท้องถิ่น เรื่องวรรณกรรมพื้นบ้านบัวขาว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 5 (1), น. 486 – 501.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28