การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อช่องทางการตลาดและระบบกลไกทางการตลาดของกลุ่มเกษตรกรมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • พิพรรธน์ พิเชฐศิรประภา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • นรินทร สมทอง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชนิศา หาญสมบุญ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • ธนัชชา คงสง ส􀄞านักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้ ช่องทางการตลาด กลไกทางการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาพรวมของกลุ่มเกษตรกรมะม่วง 2) เพื่อศึกษาการจัดการ
ความรู้ของกลุ่มเกษตรกรมะม่วง และ 3) เพื่อศึกษาช่องทางการตลาดและระบบกลไกทางการตลาดของ
กลุ่มเกษตรกรมะม่วง โดยมีกลุ่มตัวอย่างแบ่งได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ โดยใช้รูปแบบเฉพาะ
เจาะจงเป็นกลุ่มเกษตรกรอาสาสมัครเข้าร่วม จำนวน 380 ราย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย
โปรแกรมสำเร็จรูป และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ โดยใช้รูปแบบเฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มเกษตรกรอาสาสมัคร
เข้าร่วม จำนวน 10 ราย ใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมระดมสมองระหว่างทีมงานวิจัยกับ
ผู้ที่เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่มย่อย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมของกลุ่มเกษตรกรมะม่วง ส่วนใหญ่มีการจัดการเรียนรู้จากการ
รวมกลุ่มในการประชุม ปรึกษาหารือในด้านต่าง ๆ โดยมีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการ
ช่องทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำผลผลิตที่ได้มาส่งยังศูนย์กระจายมะม่วงที่สหกรณ์และ
วิสาหกิจชุมชนเพื่อทำหน้าที่ในการคัดกรองและจำหน่ายให้อย่างครบถ้วน 2) การจัดการความรู้ของ
กลุ่มเกษตรกรมะม่วง ส่วนใหญ่มีการจัดการความรู้ในด้านของการฝึกอบรมความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ
ที่มาให้ความรู้อยู่เสมอ และการเรียนรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมา สามารถนำมาประยุกต์ใช้
ดูแลสวนมะม่วงของเกษตรกรเองให้มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นและมีคุณภาพตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้
และ 3) ช่องทางการตลาดและระบบกลไกทางการตลาดของกลุ่มเกษตรกรมะม่วงเนื่องจากกลุ่มเกษตรกร
มีการดำเนินงานเป็นไปตามขั้นตอนของสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนที่มีข้อตกลงระหว่างสมาชิกเกษตรกร
และลูกค้าที่มาสั่งซื้อได้อย่างเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว

References

ประภาส สุทธิอาคาร. (2560). รูปแบบกลไกการตลาดและการจัดการตลาดสินค้าอินทรีย์ที่เป็นธรรมของเครือข่าย

เกษตรอินทรีย์ จังหวัดยโสธร. สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วิมลพักตร์ พงษ์ประไพ. (2553). การศึกษาเรื่องการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอเกาะยอโดยชุมชนมี

ส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขา

ยุทธศาสตร์การพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา.

สรุปข้อมูลการปลูกมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2561). แหล่งที่มา: http://www.chachoengsao.

doae.go.th/ecoplants/mango.htm, 20 มกราคม 2562.

สุวนาถ ทองสองยอด และ ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา. (2561). แนวทางการพัฒนาช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เกลือ

ตำบลบานา จังหวัดปัตตานี. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม- เมษายน 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30 — Updated on 2024-05-21

Versions