แนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวนวัตวิถีและห่วงโซ่อุปทานทางการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยว, อุปทานการท่องเที่ยว, ปัจจัย, ชาติพันธุ์, การพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาอุปทานการท่องเที่ยวกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งจังหวัดนครปฐม เพื่อเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยว โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research methods) เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม และกำหนกกลุ่มตัวอย่างโดยอ้างอิงจากการเปิดตารางเครซี่และมอร์แกน และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 400 คน ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ผลวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมทางการท่องเที่ยวได้แก่ ระดับอายุ รายได้ ค่าใช้จ่ายต่อวัน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับจำนวนวันที่ใช้ในการท่องเที่ยว อย่างมีนัยยะทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาอุปทานการท่องเที่ยวกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งจังหวัดนครปฐม
References
ณัฏฐินี ทองดี และคณะ. (2560).การจัดการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ชี มูล เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ประเทศไทย ลาว และ เวียดนาม. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9 (2), หน้า 74-80.
ปณิชา ตันสูติชล. (2560). การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, คณะวิทยาศาสตร์, สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน.
พัชรี สุเมโธกุล และคณะ. (2560). ศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเพื่อการจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ระหว่างผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
พิฑูรย์ ทองฉิม. (2558). การจัดการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลา, คณะบริหารธุรกิจ, สาขาการจัดการการท่องเที่ยว.
มนทิรา สังข์ทอง. (2558). โลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวเพื่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ลภัสต์รดา เธียนชัยวัฒนา. (2561). บทบาทของอุปทานการท่องเที่ยวต่อภาคการท่องเที่ยวไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1994). Qualitative Data Analysis (2nd Ed.) London: SAGE Publications.
Nguangchaiyapoom Suchada. (2012).Community - Based Tourism Management of Ban Prasat, Non Sung District, Nakhon Ratchasima Province, Thailand. Humanities & Social Sciences. 29 (3), pp.191-207.
Salamone Ugo Junior. (2017). Factors Affecting Decision Making of Thai Tourists in Purchasing Travel Package to Italy. Dusit Thani College Journal. 11 (1), pp.240–257.
Stemberk Josef. (2017). Factors Affecting the Number of Visitors in National Park in Czech Republic, Germany and Austria. International Journal of Geo-Information. 7 (3), p.124.
Wijayanti Ani. (2017). Analysis of Supply and Demand to Enhance Educational Tourism Experience in the Smart Park of Yogyakarta, Indonesia. Economies. 5 (4), p.42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว