ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนอย่างรับผิดชอบของนักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • กุลภัช ลือกุลภาวงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • สิริมา ทองออนสี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • อารีรัตน์ โมรา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • ศุจีภรณ์ รุจิรมณี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • ปิยะมาศ รักษากิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • อัจฉรา คงเย็น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • ชัยยันต์ ไชยพลู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • ธวัชชัย ศรีพรงาม วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • สุปราณี ชอบแต่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางจิตสังคม, นักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐ, พฤติกรรมการเรียนอย่างรับผิดชอบ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีรูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยม และทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีจุดมุ่งหมายคือเพื่อแสวงหาว่าปัจจัยใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนอย่างรับผิดชอบ และแสวงหากลุ่มนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการเรียนอย่างรับผิดชอบน้อย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลาจำนวน 404 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งขั้นกำหนดโควตา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มรวม และ 6 กลุ่มย่อย ที่แบ่งตามลักษณะทางชีวสังคมของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบถดถอยพหุคูณ ประกอบด้วย วิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด และวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน รวมทั้งการวิเคราะห์ความแปรปรวน 3 ทาง ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำคะแนนพฤติกรรมการเรียนอย่างรับผิดชอบมาทำการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณที่ใช้ตัวแปรลักษณะสถานการณ์ จิตลักษณะเดิม และจิตลักษณะตามสถานการณ์ เป็นตัวทำนายสามารถทำนายในกลุ่มรวมได้ 26.6% โดยมีลำดับตัวทำนายที่สำคัญคือ ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการเรียนอย่างรับผิดชอบ การเห็นแบบอย่างจากเพื่อน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทางเพื่อแสวงหากลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลาที่มีพฤติกรรมการเรียนอย่างรับผิดชอบน้อย คือ กลุ่มนักศึกษาเพศชาย ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถเป็นข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติให้กับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักศึกษา รวมทั้งเป็นการต่อยอดพื้นฐานการวิจัยพฤติกรรมการเรียนในอนาคต

References

กฤตธี สีหมนตรี. (2557). สถานการณ์ในการเรียนดนตรีและลักษณะทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพฤติกกรรมการเรียนดนตรีอย่างรับผิดชอบของเยาวชนในโครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชม ภูมิภาค. (2553). เจตคติ. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2561, จาก http://socialscience.igetweb.com/ index.php? mo=3&art=59345

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2543). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและการพัมนาบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัชชัย ศรีพรงาม. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานอย่างปลอดภัยของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและปั่นด้าย. ภาคนิพนธ์คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นิติพล ไล่สาม, ปดมพร จันทร์เทพ, พรหมมาศ พรหมพฤกษ์, ภัชราภรณ์ ขุนราม, วรวีร์ แหละปานแก้ว, และ ธวัชชัย ศรีพรงาม. (2563). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงของชาวสวนยางพาราพารา ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 6 (1), หน้า 90-102.

ประสิทธิ์ นิมสุวรรณ์, ขวัญเรียม นิมสุวรรณ์, ธวัชชัย ศรีพรงาม, และอัมพล ชูสนุก. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของชาวบ้านในชุมชนพื้นที่ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 3 (2), หน้า 146-166.

ประดินันท์ อุปรมัย. (2553). การคิดเชิงบวกเพื่อคุณภาพชีวิต. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=399

ไพรินทร์ ขัดธิพงษ์. (2553). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวกับความฉลาดทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภาวิช ทองโรจน์. (2554). สภาสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาอุดมศึกษา. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.naksit.org/hrlearning/index.php?option

รวิกาญจน์ เดือนดาว. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการขับขี่อย่างปลอดภัยของพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วัชราภรณ์ อมรศักดิ์. (2556). ปัจจัยเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนคริน
ทรวิโรฒ.

วีระชัย คำธร. (2554). ปัจจัยเชิงบูรณาการตามประสบการณ์และลักษณะทางจิตที่มีอิทธิพลต่อ จิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 18 (1), หน้า 57-66.

สร้อยทิพย์ ทองมา, ปิยะพร พรมสาย, ลักษ์สุดา ยี่สุ้นแสง, วรารัตน์ นวลประสงค์, ประภาค ม่วงอุ้ม, และ เกรียงศักดิ์ รัฐกุล. (2563). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของชาวบ้านตำบลคูหาใต้ จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 6 (1), หน้า 78-89.

Kerlinger, F. N., & Lee, H. B. (2000). Foundations of Behavioral Research. (4thed.). Holt, NY: Harcourt College Publishers.

Magnusson, D., & Endler, N.S. (1977). Personallity at the Crossroads: Current Issues in Interactionism Psychology. New jersey: LEA Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23