ตลาดดิจิทัลของลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง: การวิเคราะห์โดยใช้วิทยาการข้อมูล (Data Science)

ผู้แต่ง

  • นิศาชล ลีรัตนากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กันตพร ช่วงชิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

ตลาดดิจิทัล, ลำไยอบแห้ง, วิทยาการข้อมูล, แพลตฟอร์ม, การค้าระหว่างประเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตลาดดิจิทัลของลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง ด้วยการดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ (Data Scraping) เพื่อหาข้อมูลภาพรวมบริษัทที่ทำการตลาดบนโลกออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม Alibaba ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่มีคนค้นหาลำไยอบแห้งเนื้อสีทองมากที่สุด วิธีการศึกษาเริ่มจากการรวบรวมคำค้นที่เกี่ยวกับลำไยอบแห้งเนื้อสีทองทางอินเตอร์เน็ต จากนั้นหารูปแบบของคำซ้ำจากการค้นหาและความคิดเห็น (Feedback) เพื่อทำการวิเคราะห์รูปแบบ ความถี่และความหมายของคำซ้ำนั้น ๆ ผลการศึกษาพบว่าตลาดลำไยอบแห้งเนื้อสีทองยังมีขนาดเล็ก แต่ก็มีโอกาสขยายตลาดได้อีกมาก เนื่องจากมีการค้นหาคำว่าลำไยอบแห้งเนื้อสีทองน้อยกว่าคำว่าลำไยอยู่มาก ขณะที่การแข่งขันภายในตลาดลำไยอบแห้งเอง พบว่า จีนเป็นตลาดขนาดใหญ่และบริษัทของจีนเป็นผู้นำตลาด รองลงมาคือตลาดภายในประเทศและตลาดในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้ค้นหา ทั้งความคิดเห็นของผู้บริโภคตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ พบว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่ทำให้กลุ่มผู้บริโภคตัดสินใจซื้อลำไยอบแห้งประกอบไปด้วย คุณภาพ ราคา และความเร็วในการจัดส่ง ข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐไทยจึงเป็นเรื่อง 1) ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครู้จักลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง 2) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าพรีเมี่ยมที่มีคุณภาพดี ราคาไม่สูงมากและจัดส่งรวดเร็ว และ 3) ส่งเสริมการค้าผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อสร้างช่องทางการค้าใหม่โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง

References

กรมศุลกากร. (2564). รายงานสถิติการนำเข้า-ส่งออก. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564, จากhttp://www.customs.go.th/statistic_report.php?show_search=1&s=nREubSFh8ynZBeox

จาง ผิง. (2556). พฤติกรรมการบริโภคลำไยอบแห้งทั้งผลและการยอมรับลำไยอบกึ่งแห้งทั้งผลของผู้บริโภคชาวจีนในเขตปกครองตนเองมณฑลจ้วงกวางสี. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภค "ลำไยอบแห้ง" ในตลาดประเทศจีน. Postharvest Newsletter, 13 (1), 4-7.

นิศาชล ลีรัตนากร, กันตพร ช่วงชิด และเกวลิน สมบูรณ์. (2563). การตลาดยุคดิจิทัลของผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2562. ค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/ebook/2563/commodity2562.pdf

Business insider. (2021). Global ecommerce market report: ecommerce sales trends and growth statistics for 2021. Retrieved January 15, 2021, from https://www.businessinsider.com/global-ecommerce-2020-report

eMakerter. (2020). Top 10 countries, ranked by retail ecommerce sale 2020 & 2021. Retrieved April 23, 2021, from https://www.emarketer.com/chart/242909/top-10-countries-ranked-by-retail-ecommerce-sales-2020-2021-billions-change

Guo, Y., & Barnes, S. (2011). Purchase behavior in virtual worlds: An empirical investigation in Second Life. Information & Management. 48 (7), pp. 303-312.

Hadley, W. (2014). rvest: easy web scraping with R. Retrieved December 29, 2020, from https://blog.rstudio.com/2014/11/24/rvest-easy-web-scraping-with-r/

Kemp, S. (2020). Digital 2020: Thailand. Retrieved January 12, 2021, from https://datareportal.com/reports/digital-2020-thailand

Marketeer. (2563). ช้อปออนไลน์ 2563 เติบโตบนสถานการณ์ไม่ปกติ. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564, จากhttps://marketeeronline.co/archives/165701

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23