การสร้างความสามัคคีของพลเมืองเลย

ผู้แต่ง

  • กัลยา ยศคำลือ สาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สมพงษ์ ดุลยอนุกิจ สาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

ความสามัคคี, พลเมือง, จังหวัดเลย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การดำเนินงานสร้างสามัคคีปรองดองของบุคลากรหน่วยงานภาครัฐ ประชาชนและเยาวชนจังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2557-2560 และ 2) การดำเนินงานพันธกิจสัมพันธ์สร้างเยาวชนให้รู้รักสามัคคีและรู้บทบาทหน้าที่พลเมืองดีพื้นที่เป้าหมายจังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2561 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ปี พ.ศ. 2557-2560 คือ บุคลากรหน่วยงานภาครัฐ ประชาชนและเยาวชน จังหวัดเลย จำนวน 350 คน และปี พ.ศ. 2561 เยาวชนจังหวัดเลย จำนวน 346 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง โดยกลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ปี พ.ศ. 2557-2560 และกลุ่มเป้าหมาย ปี พ.ศ. 2561 จะต้องผ่านกิจกรรม ปี พ.ศ. 2560 และ เครื่องมือวิจัย คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินงานสร้างสามัคคีปรองดองจังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2557-2560 ใช้วิธีระดมสมองเพื่อสร้างสามัคคีปรองดองได้แนวทางคือ ปฏิรูปการเมือง, สร้างมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารประเทศ, กระบวนการยุติธรรม, บริหารราชการแผ่นดิน, การทุจริตคอร์รัปชั่น, การศึกษา, โครงสร้างเศรษฐกิจ, ข้อมูลข่าวสาร, ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม, การจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ ด้านพลังงาน ดังนั้นจังหวัดเลยจะต้องขับเคลื่อนให้สำเร็จในปีต่อไป และ (2) การดำเนินงานพันธกิจสัมพันธ์สร้างเยาวชนให้รู้รักสามัคคีและรู้บทบาทหน้าที่พลเมืองดีฯ การอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดการความขัดแย้งและจิตอาสาของเยาวชน 10 ตำบล จำนวน 346 คน วันที่ 21 ธันวาคม 2561 และวันที่ 25 ธันวาคม 2561 คณะผู้วิจัยหวังว่ากิจกรรมจะส่งผลให้เยาวชนไทเลยโดดเด่นเรื่องการมีความสามัคคี จำนวนข้อมูลพฤติกรรมด้านลบลดลง และเกิดเครือข่ายทำกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่นไทเลยอย่างยั่งยืน

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). แนวทางการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในระดับพื้นที่. ค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2562 จาก www.bps.m-society.go.th

กัลยา ยศคำลือ. (2561). รายงานการดำเนินงานโครงการพันธกิจสัมพันธ์สร้างเยาวชนให้รู้รักสามัคคีและรู้บทบาทหน้าที่พลเมืองดีพื้นที่เป้าหมายจังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2561. เลย: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

กัลยา ยศคำลือ และสมพงษ์ ดุลยอนุกิจ. (2560). รายงานการดำเนินงานสร้างสามัคคีปรองดองจังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2557-2560. เลย: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ชาติชาย ณ เชียงใหม่. (2544). การมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่สมดุล. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ชลธิศสา องอาจ. (2561). รักสามัคคีนำมาซึ่งความปรองดองสมานฉันท์. ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2561 จาก http://nbt.prd.go.th

ดิศนัดดา ดิศกุล. (2561). จากศาสตร์พระราชาสู่ SDGs พัฒนาไทยยั่งยืน. ค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2561 จาก https://www.prachachat.net/csr-hr/news-201314.

นิเทศ สนั่นนารี และคณะ. (2561). การสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสร้างความปรองดองในสังคม. วารสารธรรมทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น, 5 (1), หน้า 41-46.

พระเมธาวินัยรส (ปสิวิโก), พระมหาวีระศักดิ์ สุรเมธี, และสาลินี รักกตัญญู. (2560). รูปแบบส่งเสริมความปรองดองและสันติสุขด้วยศีล 5 ของประชาชนในจังหวัดสระบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5(1), หน้า 1-2.

มติชนออนไลน์. (2561). แนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ. ค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2561 จาก https://www.matichon.co.th/politics

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. (2557ก). เลยโมเดลนำร่องในการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ. เลย: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. (2557ข). เวทีเสวนาสร้างความปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปจังหวัดเลย. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

เมลดา กลิ่นมาล. (2563). รูปแบบการคิดของนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 14(1), หน้า 125-137.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2561 จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th

สถาบันพระปกเกล้า. (2555). การสร้างความปรองดองในชาติ. กรุงเทพมหานคร: กรรมาธิการวิสามัญศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา.

สถาบันพระปกเกล้า. (2558). การปฏิรูปประเทศไทยด้านการต่อต้านการทุจริตและการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

Maslow, A.H. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review, 50, p.370-396.

Bandura, A. (1977). Principle of Behavioral Modification. New york Holt, Rinehart & Winston.

Feldman, J. (1975). Considerations in the use of causal-correlational technique in applied psychology. Journal of Applied Psychology, 60(6), p.663-670.

Katz, K. (1960). The functional approach to the studies of attitudes. Public Opinion Quarterly, 24, p.163-168.

Lester W.M, & Goal M.L. (1977). Political Participation : How and Why Do People Get Involved in Politics. Chicago Rand McNally College Publishing Company.

Newcomb. T.M., Tumer, Ralph H., Convers, Philip, E. (1965). Converse. New York Rinehart and Winston.

Nunnally, J.C. (1959). Attitude Measurement. In the handbook of social psychology. Massachusetts: Addison Wesley; p.206-2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22