การจัดการแหล่งเรียนรู้บนเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงกาแฟ: กรณีศึกษาชุมชนในตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
แหล่งเรียนรู้, การท่องเที่ยวเชิงกาแฟ, ลำปางบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ในจังหวัดลำปางโดยการจัดการแหล่งเรียนรู้บนเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงกาแฟได้เลือกศึกษาชุมชนใน ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่สำคัญของจังหวัดลำปาง ผลการศึกษาพบว่าแหล่งเรียนรู้หรือสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่มีลักษณะให้ความรู้และสร้างประสบการณ์แก่นักท่องเที่ยวได้เข้าใจถึงวิถีชีวิตของชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องกับกาแฟ ผู้วิจัยได้พัฒนาการเข้าไปชมกระบวนการผลิตกาแฟในขั้นตอนต่างๆ ในสถานที่เหล่านั้น และร่วมทำกิจกรรมทางการท่องเที่ยว เช่น ไร่กาแฟ โรงคั่ว ร้านกาแฟ ไร่เกษตรผสมผสาน ไร่เมี่ยง และโฮมสเตย์ เป็นต้น ถือเป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวขึ้นใหม่ในชุมชนเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีประสบการณ์และเข้าถึงความเป็นชุมชนผู้ปลูกกาแฟและจัดเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงกาแฟของจังหวัดลำปาง
References
คมสันต์ จันทร์งาม.(2563, 10 มิถุนายน) สัมภาษณ์. ผู้ประกอบการร้านกาแฟ Zhun Coffee บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง.
ชนาภา ศรีวิสรณ์, พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ และขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. (2561). แนวทางการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขขตามหลักพุทธสันติวิธี : กรณีศึกษาชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้าง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6 (ฉบับพิเศษ), หน้า 284-297.
ชุติมันต์ สะสอง, สัญญา สะสอง และอารีย์ บินประทาน. (2563). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผ่านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 3 (1), หน้า 75-86.
โดม ไกรปกรณ์. (2557). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : มองผ่านการผลิตและบริโภคกาแฟ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 33 (2), หน้า 5-20.
ตั๋ว จางอรุณ.(2563, 5 สิงหาคม) สัมภาษณ์. ผู้ประกอบการไร่กาแฟตั๋วกะหมี บ้านแม่แจ๋ม ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง.
นันท์นภัส ทรัพย์โชคธนกุล, กรกมล อินทร์สอน, ธันยพร ช่างเสนาะ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2557) “กาแฟดอยช้าง” คุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการไทยภายใต้ตราสินค้าเพื่อการค้าที่เป็นกลาง. วารสารวิชาการ Veridian E-journal. 7 (2), หน้า 1327-1338.
ปิยนาถ สรรพา. (2561). กาแฟชนเผ่า ทุนทางวัฒนธรรม การเป็นผู้ประกอบการของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ. วารสารพัฒนศาสตร์. 3 (1), หน้า 95-137.
ปิยานุช สินันตา และพิกุล สุรพรไพบูลย์. (2557). การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการผลิตกาแฟและ คุณภาพของกาแฟชุมชนบ้านสนเจริญ ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วารสารการพัฒนาชุมชน และคุณภาพชีวิต. 2 (3), หน้า 325-331.
ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น, เพียงกานต์ นามวงศ์ และศิริขวัญ ปัญญาเรียน. (2563). กรุ่นกลิ่นถิ่นกาแฟแจ้ซ้อน. เชียงใหม่ : อาร์ทเวิร์ด ปรินติ้งเฮาส์.
ภานนท์ คุ้มสุภา และมาโนช ชุ่มเมืองปัก. (2564). กลวิธีการสื่อสารของกิจการเพื่อสังคมกาแฟอาข่า อ่ามากับการขับเคลื่อนธุรกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวอาข่า. วารสารสหวิทยาสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 4 (1), หน้า 1-15.
วันเพ็ญ จิตรเจริญ และคณะ. (2561). การส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันธุรกิจกาแฟอราบิก้าแบบครบวงจรในเขตภาคเหนือตอนบนภายใต้อิทธิพลการเปิดการค้าเสรีอาเซียน. ลำปาง: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
ศิริขวัญ ปัญญาเรียน และเพียงกานต์ นามวงศ์. (2563). แนวทางการยกระดับทางการท่องเที่ยวเชิงกาแฟของชุมชนตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. ใน เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์. (บรรณาธิการ). รายงานที่เกี่ยวเนื่องกับการประชุมวิชาการระดับชาติ “พะเยาวิจัย 9”. (หน้า 1175-1180).
ศิวณัฐ กองไฝ. (2563, 6 สิงหาคม) สัมภาษณ์. ผู้ประกอบการร้านกาแฟสดดอยแม่แจ๋ม บ้านแม่แจ๋ม ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง.
สราวุธ รูปิน และคณะ. (2561). ประวัติศาสตร์และชุมชนผู้ผลิตเหมี้ยงล้านนา. เชียงใหม่: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุวรรณ มูลคำดี.(2563, 6 สิงหาคม) สัมภาษณ์. ผู้ประกอบการไร่สุวรรณ บ้านแม่แจ๋ม ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว