การบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนบางไส้ไก่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานครเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ชุมชนบางไส้ไก่เขตธนบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในชุมชนบางไส้ไก่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนบางไส้ไก่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และข้อคำถามสำหรับสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกเป็นหมวดหมู่เพื่อมุ่งตอบคำถามการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนบางไส้ไก่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 40-60 ปีขึ้นไปมากที่สุด(ร้อยละ 66.67) จบการศึกษามัธยมศึกษา สาขาที่มีภูมิปัญญามากที่สุดคือ สาขาศิลปกรรมด้านหัตถกรรม (ร้อยละ 66.67) ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือและมีความเก่าแก่สืบทอดมารุ่นต่อรุ่น และได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ สำหรับกรรมวิธีในการผลิตก็จะไม่ซับซ้อนเน้นการผลิตที่ทำกันได้ง่ายและใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น 2) แนวทางการบริหารจัดการในการนำแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษาคือควรมีหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยตรงโดยจัดทำเป็นทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปของเว็บไซต์ และการจัดทำเป็นเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ วีดิทัศน์ บทเรียนออนไลน์และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จัดงานนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มีงบประมาณและการติดตามประเมินผลเป็นระยะและผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับควรมีนโยบายส่งเสริมให้นำไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา สาระเพิ่มเติม และควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Youtube Facebook เป็นต้น
References
วรพจน์ อาษารัฐ. (2550). การเล่นพื้นบ้าน :ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเด็ก. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 1 (1), 36-40.
วารี หอมอุดม. (2553). คุณค่าของภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย และการสืบทอด. ค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.kroobannok.com
วิไล กันทะใจ. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องภูมิปัญญาไทยในตุงล้านนา โรงเรียนบ้านร้องกวาง(จันทิมาคม) อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
เสรี พงศ์พิศ. (2547). ชาวบ้านชวนคิดภาพนิมิตการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: พลังปัญญา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
อดิสรณ์ เรืองจุ้ย. (2550). การศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของครูในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว