การจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การเป็นอุทยานเศรษฐกิจฐานความรู้ : หนึ่งพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาไทย

ผู้แต่ง

  • อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปทีป เมธาคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กิตติโชติ บัวใจบุญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, อุทยานเศรษฐกิจฐานความรู้, การจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, พันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาไทย, การจัดการความรู้

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในต่าง ประเทศที่สนับสนุนบทบาทหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา และ 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาอุทยานเศรษฐกิจฐานความรู้สำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยเกียวโต และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ สอบถามผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารหน่วยงานระดับคณะ วิทยาลัย สถาบัน ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยของรัฐและเอกชน จำนวน 13 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในต่างประเทศสนับสนุนบทบาทหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ และบทบาทสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการวิจัยในการพัฒนาสถาบัน เศรษฐกิจ สังคม และประเทศ 2. การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมที่นำไปสู่อุทยานเศรษฐกิจฐานความรู้ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย พบว่า กลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมที่นำไปสู่อุทยานเศรษฐกิจฐานความรู้สูงที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน ตามลำดับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นการจัดการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ภายใต้สถาบันอุดมศึกษา ที่มีโดยลักษณะการจัดการวิจัยองค์ความรู้เพื่อการสร้างมูลค่าและคุณค่า ลักษณะความเป็นนิคมวิจัยที่มีองค์ความรู้เป็นฐาน สอดคล้ององค์ความรู้ที่มีความหลากหลายสาขาและสภาพสาขาวิชางานวิจัย และคงบทบาทสนับสนุนพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา

References

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2574). กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนการอุดมศึกษา.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ปรารถนา หลีกภัย และเกิดศิริ เจริญวิศาล. (2555). ผลของการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นตลาด และการมุ่งเน้นการเรียนรู้ที่มีต่อความสามารถทางนวัตกรรมองค์กร. วารสารวิทยาการจัดการ. 29 (1). น.77-90.

วรพล โสตติยานุรักษ์. (2557, 25 ธันวาคม). เศรษฐกิจสร้างคุณค่า พัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน. นสพ.กรุงเทพธุรกิจ. หน้า.1.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2552, 8 ตุลาคม). รู้จักเศรษฐกิจสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, หน้า.6.

Dahiman, (2003). Knowledge Creation, Diffusion, and Use in Innovation networks and Knowledge Clusters. Washington. DC.

Krisciunas, Kestutis. (2006). The Development of Features of Entrepreneurship’s Expression in an Enterprise. Lithuania. Kaunas University of Technology.

OECD. (2002). The knowledge-based economy. UNITED NATIONS. New York and Geneva.

Terry O’Banin. (2010). Focus on Learning: The Core Mission of Higher Education. Alabama. Jacksonville State University.

Link, Albert N. (2003). U.S. Science Parks: The Diffusion of the Innovation and Its Effects on The Academic Missions of Universities. Retrieve December 20, 2003 from http://www.krannert.purdue.edu

Massachusetts Institute of Technology. (2017). Schools, Departments & the College.Retrieved December 15, 2017, from https://www.mit.edu

National University of Singapore. (2017). Expanded PIER71™ programmes to support Singapore’s development as maritime technology hub. Retrieved December 13, 2017, from https://www.nus.edu.sg

Regional Development Agencies. (2015). Explore 1,000 years of history.Retrieved December 16, 2017, from https://www.nationalarchives.gov.uk

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22