การจัดการเรียนรู้เรือกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศิกษก บรรลือฤทธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • จิราภรณ์ กาญจนสุพรรณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

เรือ, การท่องเที่ยว, วัฒนธรรม, ฝั่งธนบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง เรือกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีจุดประสงค์การศึกษาดังนี้ 1) ศึกษาประเภทของเรือที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี 2) ศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในฝั่งธนบุรี 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เรือกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งธนบุรีได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการเก็บรวมรวมข้อมูลเชิงเอกสารและจากการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า ประเภทของเรือที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี มีดังนี้ 1) เรือด่วน ประกอบด้วย เรือธรรมดา (ไม่มีธง) เรือด่วน (ธงส้ม) เรือด่วน (ธงเหลือง) เรือด่วน (ธงเขียว) เรือด่วนท่องเที่ยวเจ้าพระยา (ธงฟ้า) 2) เรือเช่าเหมาลำ ประกอบด้วย เรือแท็กซี่ เรือหางยาว เรือบัส ทั้งนี้มีการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งธนบุรี ด้วยการประชุมทำความเข้าใจกับชุมชนและผู้ประกอบการทางเรือถึงวิธีการเตรียมความพร้อมของกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ การคัดเลือกผู้เข้าร่วมการให้บริการทางเรือ และการจัดกระบวนการ ซึ่งมีหน่วยงานที่คอยให้บริการอำนวยความสะดวก ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลการท่องเที่ยวด้วยกันหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีบทบาทในการจัดระบบการท่องเที่ยว โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เรือกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งธนบุรีได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว คือ การบริการท่องเที่ยวย่านฝั่งธนบุรี การให้บริการทางเรือและถนน ร้านอาหาร ของที่ระลึก นวดแผนไทย สปา การอำนวยความสะดวกในการขอวีซ่า ความปลอดภัยในการท่องเที่ยว สถานที่พักอาศัยริมแม่น้ำเจ้าพระยา ความเหมาะสมของราคาต่อสถานที่ สินค้า และการบริการต่าง ๆ การอำนวยความสะดวกเรื่องภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ไมตรีของผู้คนในท้องถิ่น และสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกที่จะมาท่องเที่ยวทางเรือในย่านธนบุรี จึงทำให้การท่องเที่ยวเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้เรือเป็นพาหนะหลักในการนำเที่ยวนั้น เป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศ ตลอดจนเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญและให้ความสนใจต่อวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของประเทศไทยอีกด้วย

References

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเพรสแอนด์ดีไซน์.

มนัส สุวรรณ และคณะ. (2541). โครงการศึกษาแนวทางและการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่รับผิดชอบ ขององค์การบริหารส่วนตำบลและสภาตำบล. กรุงเทพมหานคร : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

อภิชาติ อินทร์พงษ์พันธ์. (2540). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : อุบลกิจออฟเซ็ท.

Aday LA. And Anderson R.. (1978). Social Science and Medicine. New York: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22