สิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อม กรณีใช้สิทธิฟ้องคดี

ผู้แต่ง

  • ยุทธศักดิ์ ดีอร่าม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ศิลป์ชัย ลีลิตธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

สิทธิ, การมีส่วนร่วมของประชาชน, การฟ้องคดี

บทคัดย่อ

สิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมกรณีใช้สิทธิฟ้องคดีเดิมเป็นสิทธิ ที่ถูกกำหนดไว้ในกฎหมาย การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีผลให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ถูกยกเลิกไปทำให้หลักการสำคัญบางประการในเรื่องสิทธิในสิ่งแวดล้อมได้ถูกยกเลิกไป กล่าวคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ให้สิทธิแก่ประชาชนที่ได้รวมกลุ่มกันเป็นชุมชนมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐให้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การอนุรักษ์ บำรุงรักษา การได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ คุ้มครองส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพจะกระทำมิได้ โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้กล่าวถึงสิทธิของประชาชนในการฟ้องคดีสิ่งแวดล้อม เพียงแต่ให้สิทธิที่ จะมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายบัญญัติ ผลการศึกษาพบว่าสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สิทธิฟ้องคดีไม่สามารถดำเนินการได้เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้ชัดเจน ผู้เขียนเห็นว่าควรที่จะบัญญัติสิทธิในการฟ้องคดีสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจนเพื่อให้การคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานได้รับการคุ้มครองโดยประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาซึ่งจะสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน หลักการแห่งความร่วมมือ

References

ดนัย ศรลัมพ์. (2525). ค่าทดแทนในกรณีสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต
สาขานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดิเรก ควรสมาคม. (2563). ความรู้ทั่วไปและหลักการพื้นฐานทางกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.

ต่อพงค์ กิตติยานุพงค์. (2562). ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2560). กฎหมายสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร : เดือนตุลา.

สมยศ เชื้อไทย. (2562). กฎหมายมหาชนเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.

สุวิทย์ ปัญญาวงศ์. (2563). กฎหมายมหาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.

อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และวรศักดิ์ จันทร์ภักดี. (2560). ร่ายรัฐธรรมนูญที่มา หลักการ และความสำคัญ.
กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2561). กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28