ส่วนประสมการตลาดธุรกิจที่พักอาศัยตามความต้องการ ของผู้บริโภคในเขตบางขุนเทียน
คำสำคัญ:
ส่วนประสมการตลาด, พฤติกรรมผู้บริโภค, ที่พักอาศัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดธุรกิจที่พักอาศัยตามความต้องการของ ผู้บริโภค ในเขตบางขุนเทียน ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริโภคที่ทำงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชน ในเขตบางขุนเทียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน จากจำนวนประชากรไม่ชัดเจนคำนวณจากสูตรของ W.G. Cochran เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ และร้อยละ และสัมภาษณ์ผู้บริโภคที่อยู่ระหว่างการซื้อที่พักอาศัยในเขตบางขุนเทียน จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปผล ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการที่พักอาศัยแบบบ้านเดี่ยว มีสมาชิกพักอาศัยร่วมกัน 3-4 คน พื้นที่ใช้สอยภายในรวม 50-100 ตารางเมตร ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ใช้วัสดุและอุปกรณ์ประกอบตัวอาคารแข็งแรง ทนทาน และมีการรักษาความปลอดภัย ราคาที่สามารถซื้อได้คือ 1,000,000-3,000,000 บาทและเหมาะสมกับคุณภาพของบ้าน ค่าบริการส่วนกลางโดยรวมไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน โดยเหมารวมจ่ายเป็นรายปี และชำระแบบโอนเงินผ่านธนาคารต้องการติดต่อซื้อกับพนักงานขาย ของบริษัทที่พักอาศัยควรใกล้ที่ทำงานและตลาดสด และควรมีรถไฟฟ้า ต้องการรับข่าวสารทางโทรศัพท์/โทรศัพท์มือถือ การได้รับรายละเอียดทั้งข้อดีและข้อเสียของโครงการและการรับประกันโครงสร้างตัวอาคารเป็นสิ่งจูงใจให้ตัดสินใจซื้อมากที่สุด พนักงานขายควรแต่งตัวยูนิฟอร์มของบริษัทและมีความสุภาพ ปฏิบัติงาน ช่วงเวลา 08.00-17.00 น. พนักงานขายควรอธิบายข้อมูลที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และลูกค้าสามารถแจ้งปัญหา การพักอาศัยได้สะดวกและได้รับบริการแก้ปัญหาภายใน 1 สัปดาห์ ที่พักอาศัยตกแต่งแบบความเป็นไทย บรรยากาศโล่ง โปร่ง ร่มรื่น เป็นธรรมชาติ และมีเพื่อนบ้านที่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตใกล้เคียงกัน มีกิจกรรมเสริมสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดี ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้บริโภคให้ความสนใจพื้นที่บางขุนเทียนเพราะเป็นแหล่งชานเมือง มีสภาพอากาศดี มีการคมนาคมที่สะดวก อยู่ใกล้แหล่งชุมชน มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แต่มีปัญหาเรื่องการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินที่ไม่สามารถกู้ได้เต็มจำนวน และเมื่อฝนตกหนักจะมีปัญหาน้ำท่วม ต้องการได้รับการดูแลความสงบเรียบร้อยภายในโครงการบ้าน มีความปลอดภัยและมีภูมิทัศน์ที่น่าอยู่
References
จังหวัดภูเก็ต. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัย
ราชภัฏภูเก็ต.
ไทยพีบีเอส. (2556, 13 มีนาคม). จับตาธุรกิจ “อพาร์ตเม้นต์” ชะลอ เจอ “คอนโดมิเนียม” แซง ตอบโจทย์
ไลฟ์สไตล์มากกว่า. ไทยพีบีเอส. ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2560, จาก http://news.thaipbs.
or.th/content/153948.
ศศนันท์ วิวัฒนชาต. (2549). เทคนิคการขายอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : คณะพาณิชยศาสตร์
และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมอาจ แสงกระจ่าง. (2554). ส่วนประสมการตลาดที่ใช้ในการตัดสินใจเช่าที่พักอาศัยรายเดือนของ
ผู้เช่าในเขตเทศบาลตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร
มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. (2559). กทม. จัดสวัสดิการห้องเช่าราคาถูก
ให้ข้าราชการและลูกจ้างในพื้นที่บางขุนเทียนและบางบอน. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2561,
จาก http://www.bangkok.go.th /main/page.php?&43-News&type=detail&id=4806.
Alago, D., Kilika, J. M., & Oringo, J. O. (2019). Consumer behavior and choice of housing in
Kenya: A case of selected residential rental estates in Nairobi city county.
American Scientific Research Journal for Engineering, Technology, and Sciences.
51 (1), pp. 13-27.
Alonso, W. (1964). Location and land use. Cambridge, Mass: Harvard University Press.
Booms, H. B., & Bitner, J. M. (1981). Marketing strategies and organization structures
for service firms. Illinois: American Marketing Association.
Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.
Frederick, J. G., & Lori-Ann, B. F. (2012). Research method for the behavior sciences.
(4th ed). Canada: Wadsworth Cengage Learning.
Goodall, B. (1972). The economics of urban areas. Oxford: Pregame.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management. (13th ed). New Jersey:
Prentice-Hall.
Kovács, Z., & Herfert, G. (2012). Development pathways of large housing estates in
post-socialist cities: An international comparison. Housing Studies. 27 (3),
pp. 324-342.
Lee, J. Y., Sridhar, S., & Palmatier, R. W. (2017). The effect of firms' structural designs
on advertising and personal selling returns. International Journal of Research
in Marketing. 34, pp. 173-193.
Sari, D. K., Untari, D. T., Nursal, M. F., & Komariah, N. S. (2019). Development of the
property marketings strategy; Case study at Risma Jihan Akbar housing developer,
Bekasi - West Java. Journal of Economic Development, Environment and
People. 8 (2), pp. 6-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว