ลักษณะทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ยุทธภูมิ เอียดเปรียว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

ลักษณะทางจิตสังคม, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, นักเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบที่มีกรอบแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎี รูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยม และทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีจุดมุ่งหมายคือ เพื่อแสวงหาว่าปัจจัยใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแสวงหากลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงน้อย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักเรียนมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปี ถึง 18 ปี รวม 420 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งขั้นกำหนดโควตา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มรวม และ 10 กลุ่มย่อย ที่แบ่งตามลักษณะทางชีวสังคมของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยสถิติวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 3 ทาง ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ใช้ตัวแปร ลักษณะสถานการณ์ จิตลักษณะเดิม และจิตลักษณะตามสถานการณ์ เป็นตัวทำนายสามารถทำนายในกลุ่มรวมได้ 33.5% โดยมีลำดับตัวทำนายที่สำคัญคือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมใช้ชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเห็นแบบอย่างจากเพื่อน ตามลำดับ ทั้งนี้กลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาที่ถูกพบว่ามีพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงน้อย คือ กลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวมาก ซึ่งผลการวิจัยสามารถเป็นข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติให้ หน่วยงานเกี่ยวข้องได้ส่งเสริม ปลูกฝังพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับ นักเรียน รวมทั้งเป็นการต่อยอดพื้นฐานการวิจัยในอนาคต

References

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2543). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิติพล ไล่สาม, ปดมพร จันทร์เทพ, พรหมมาศ พรหมพฤกษ์, ภัชราภรณ์ ขุนราม, วรวีร์ แหละปานแก้ว
และธวัชชัย ศรีพรงาม. (2563). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่าง
พอเพียงของชาวสวนยางพารา ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัย
ราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 6 (1), หน้า 90-102.

ประสิทธิ์ นิมสุวรรณ์, ขวัญเรียม นิมสุวรรณ์, ธวัชชัย ศรีพรงาม และอัมพล ชูสนุก. (2560). ปัจจัยที่มี
อิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของชาวบ้านในชุมชนพื้นที่ตำบลนครสวรรค์ตก
อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ธนบุรี. 3 (2), หน้า 146-166.

รังสรรค์ หังสนาวิน. (2549). ลักษณะทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างมุ่งผลสัมฤทธิ์ของ
พัฒนากร. ภาคนิพนธ์ คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิทูลย์ แก้วสุวรรณ, เกษมชาติ นเรศเสนีย์ และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2559). การพัฒนาชุมชนตาม
แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. วารสารการเมืองการปกครอง.
6 (2), หน้า 55-69.

สมจิตต์ จุลสัมพันธ์สกุล. (2548). อิทธิพลของการใช้สารชักจูงที่มีต่อการยอมรับการใช้บริการไปรษณีย์
ประกันชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. ภาคนิพนธ์ คณะพัฒนาสังคม สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สร้อยทิพย์ ทองมา, ปิยะพร พรมสาย, ลักษ์สุดา ยี่สุ้นแสง, วรารัตน์ นวลประสงค์, ประภาค ม่วงอุ้ม และ
เกรียงศักดิ์ รัฐกุล. (2563). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม ของชาวบ้านตำบลคูหาใต้ จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม.
6 (1), หน้า 78-89.

สุทธิดา ทองศฤงคลี. (2547). ปัจจัยเชิงเหตุแบบบูรณาการระหว่างบ้าน โรงเรียน และจิตลักษณะที่
เกี่ยวข้องกับความตั้งใจที่จะดูแลญาติผู้สูงอายุของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์
คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Kerlinger, F.N., & Lee, H.B. (2000). Foundations of Behavioral Research. (4 th). NY: Harcourt
College Publishers.

Magnusson, D., & Endler, N.S. (1977). Personallity at the Crossroads: Current Issues in
Interactionism Psychology. New jersey: LEA Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28