ผลของวัสดุเพาะชนิดต่าง ๆ ต่อการเจริญและผลผลิต ของเห็ดโคนน้อย Coprinopsis radiata

ผู้แต่ง

  • จาริวัฒณ์ ศิริอินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • เธียร ธีระวรวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

เห็ดโคนน้อย, วัสดุเพาะเห็ด, ฟางข้าว, ชานอ้อย, กาบมะพร้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญและผลผลิตของเห็ดโคนน้อย Coprinopsis radiata ที่เพาะด้วยฟางข้าว ชานอ้อย และกาบมะพร้าว โดยวางแผนการทดลองออกเป็น 5 ชุด การทดลอง จำนวน 10 ซ้ำ คือ ฟางข้าว 100% (กลุ่มควบคุม) ชานอ้อย 100% กาบมะพร้าว 100% ฟางข้าว:ชานอ้อย อัตราส่วน 1:1 และ ฟางข้าว:กาบมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 หลังใส่เชื้อเห็ดโคนน้อย 20 วัน ผลการศึกษา พบว่า วัสดุเพาะที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด คือ ฟางข้าว 100% ให้น้ำหนักดอกเห็ดสด/ กระถาง เท่ากับ 50.05 ± 0.47 กรัม จำนวนดอก/กระถาง เท่ากับ 43.33 ± 1.53 ดอก และมีประสิทธิภาพการใช้อาหารมากที่สุดเท่ากับ 8.86 ± 0.36% มีขนาดหมวกกว้าง 0.96 ± 0.04 เซนติเมตร ขนาดหมวกยาว 1.69 ± 0.03 เซนติเมตร ขนาดก้านกว้าง 0.66 ± 0.02 เซนติเมตร ขนาดก้านยาว 1.97 ± 0.02 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ ฟางข้าว:ชานอ้อยอัตราส่วน 1:1 ให้น้ำหนักดอกเห็ดสด/กระถาง เท่ากับ 48.11 ± 1.10 กรัม จำนวนดอก/กระถาง เท่ากับ 41.00 ± 1.00 ดอก และมีประสิทธิภาพการใช้อาหารเท่ากับ 7.21 ± 0.10% มีขนาดหมวกกว้าง 0.91 ± 0.01 เซนติเมตร ขนาดหมวกยาว 1.53 ± 0.02 เซนติเมตร ขนาด ก้านกว้าง 0.56 ± 0.03 เซนติเมตร และขนาดก้านยาว 1.86 ± 0.03 เซนติเมตร โดยสรุป การใช้ฟางข้าวให้ผลผลิตดอกเห็ดสูงที่สุด การใช้ฟางข้าวผสมชานอ้อย อัตราส่วน 1:1 สามารถให้ผลผลิตดอกเห็ด ใกล้เคียงกับการใช้ฟางข้าวเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนฟางข้าวจากการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีของเกษตรกรโดยใช้วัสดุอื่นในท้องถิ่นเพื่อเพาะเห็ดโคนน้อยได้

References

ขวัญใจ หรูพิทักษ์, จิตตราวรรณ พี่นานิช และเรืองปัญญา ดาวเรือง. (2559). ศึกษาการเจริญของเส้นใย
และผลผลิตของเห็ดนางฟ้าภูฏานเมื่อใช้ชานอ้อยและชานอ้อยบดเป็นวัสดุเพาะ. วารสาร
พืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3 (11), หน้า 48-53.

ทิพวรรณ เมืองมูล, ทศวรรต อะโนราช, ติณณภพ นิลวัชราภรณ์ และขรรค์ชัย ดั้นเมฆ. (2556). นวัตกรรม
การผลิตเห็ดถั่ว (Coprinopsis spp.) จากเศษเหลือของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรจังหวัดพะเยา. การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน
2556 ครั้งที่ 3. หน้า 360-365.

วาสนา ชัยเสนา, เริงนภรณ์ โม้พวง, พรวิภา สะนะวงศ์, คชรัตน์ ทองฟัก และสุจริต เรืองเดชาวิวัฒน์.
(2554). ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเพาะเห็ดโคนน้อย (Coprinopsis cinerea)
และเห็ดฟาง (Volvariella volvacea) บนวัสดุเพาะลิกโนเซลลูโลส เช่น ผักตบชวา และ
ฟางข้าว ในประเทศไทย. Journal of Community Development Research. 4 (4),
หน้า 6.

สมจิตร อยู่เป็นสุข. (2552). เอกสารคําสอนวิชาชีววิทยาของเห็ด. สาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สัณฐิติ วัฒนราษฎร์ และสมจิตร อยู่เป็นสุข. (2557). วัสดุเพาะและสภาวะที่เหมาะสมในการผลิต
ก้อนเชื้อเห็ดโคนน้อย (Coprinopsis radiata). Graduate Research Conference. 15.
หน้า 603-610.

สำนักงานสถิติจังหวัดบุรีรัมย์. (2562). สถิติการเกษตรของจังหวัดบุรีรัมย์. ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2563,
จาก http://buriram.nso.go.th.

สุทธิชัย สมสุข. (2553). การใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และ
น้ำหนักชีวภาพต่อผลผลิตเห็ดฟางที่เพาะในตะกร้าพลาสติก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
18 (2), หน้า 17-34.


อานนท์ เอื้อตระกูล. (2541). การเพาะเห็ดโคนน้อย (เห็ดถั่ว). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คมชัด.

Læssoe, T. (2013). Mushrooms & Toadstools The Illustrated Guide to Fungi. Dorling
Kindersley Limited A Penguin Company. London. 13, pp.1-360.

Yang, G.L., and Xue, H.B. (2000). Specialized Cultivation Manual about Edible and
Medicinal Mushroom. Beijing: Agricultural Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28