การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ ด้านการบัญชีภาษีอากรสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
คำสำคัญ:
หลักสูตรฝึกอบรม, การบัญชีภาษีอากร, ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาองค์ความรู้ที่จำเป็นด้านการบัญชี ภาษีอากรสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีภาษีอากร จำนวน 19 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ (2) สร้างและพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรมฯ ดำเนินงานเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การออกแบบและสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ส่วนที่ 2 การตรวจสอบหลักสูตรฝึกอบรมและการปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ (3) ประเมินหลักสูตรฝึกอบรมฯ โดยทดลองใช้กับผู้ทำบัญชีของหน่วยงานเอกชน จำนวน 30 คน ใช้แบบประเมิน ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังทดลอง ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ควรมีความรู้ในหลักภาษีตาม ประมวลรัษฎากร ควรมีการทำแผนที่ภาษีอากร (Tax Mapping) และความรู้เกี่ยวกับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ควรมีความรู้เพิ่มเติม คือ การคำนวณภาษียื่นแบบภาษี การวางแผนภาษี การแก้ไขปัญหาทางด้านภาษีอากร ภาษีของกิจการต่างประเทศที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และ ลักษณะของการอบรม ควรให้มีการฝึกปฏิบัติควบคู่ไปกับการเรียนด้านเนื้อหา (2) หลักสูตรฝึกอบรมฯ โดยภาพรวมพบว่า ทุกหัวข้ออยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมากที่สุด (X = 4.60) (3) ผลการเปรียบเทียบทักษะ ก่อนฝึกอบรม (pre-test) หลังการฝึกอบรม (post-test) พบว่า หลังการอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมฯ สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการบัญชีภาษีอากรสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ บัญชี พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจการเข้าร่วมฝึกอบรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (X = 4.54) ยกเว้นด้านกิจกรรมและวิธีการอบรมที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 4.35)
References
ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธรรมนิติ. (2560). ผลสำรวจชี้ นักบัญชีขานรับนโยบาย Thailand 4.0 พร้อมก้าวสู่ระบบการเงินและ
บัญชีดิจิทัล. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2561, จาก https://www.dha.co.th/ en/news/tax-news/
1019-tax-magazine-poll.html
พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543. (2543, 12 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 117 ตอนที่
41ก, หน้า 1-11.
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. (2547, 22 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 121 ตอนที่
65ก, หน้า 1-21.
ลักษณาวิมล จิรวัชรีศักดิ์. (2562). โปรแกรมการพัฒนาทักษะสำหรับผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจบริหาร
หนี้สิน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2554). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา: กระบวนทัศน์
ใหม่การพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
สมเดช โรจน์คุรีเสถียร. (2557). การบัญชีภาษีอากร ฉบับประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์ธรรมนิติ.
สุรพัฒน์ มังคะลี. (2557). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมสมรรถนะหัวหน้าชุดปฏิบัติการในธุรกิจ
ด้านการรักษาความปลอดภัยในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Parkay, F. W., Anctil, E. J., & Hass, G. (2006). Curriculum Planning: A Contemporary
Approach. (8 th). Boston: Pearson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว