การพัฒนาภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้วยการปรึกษากลุ่ม เชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวนิยมเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ปวีณา เพิ่มพูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี
  • สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี
  • ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี

คำสำคัญ:

พฤฒพลัง, ผู้สูงอายุ, การปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ, ทฤษฎีอัตถิภาวนิยม, ทฤษฎีเกสตัลต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวนิยมเป็นฐานต่อภาวะพฤฒพลัง ของผู้สูงอายุ มีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาแบบวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบวัดภาวะพฤฒพลังมีค่าความเชื่อมั่น .96 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมสัสดีบำนาญ จำนวน 400 คน ระยะที่ 2 การศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ โดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวนิยมเป็นฐานต่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ ชมรมเจริญนคร 66 ที่มีคะแนนแบบวัดภาวะพฤฒพลังในระดับตํ่าและต่ำมาก จำนวน 24 คน โดย การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ Random assignment เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้าสองทาง และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีทดสอบแบบนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัย พบว่า ในระยะที่ 1 องค์ประกอบของภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านหลักประกันและความมั่นคง โดยโมเดลการวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้านสุขภาพ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ () = 57.25, df = 53, p = .32053, ค่าดัชนี CFI = 1.00, GFI = .99, RMSEA = .014 โมเดลการวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้าน การมีส่วนร่วมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ () = 5.91, df = 5, p = .31539, ค่าดัชนี CFI = 1.00, GFI = 1.00, RMSEA = .021 โมเดลการวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้านหลักประกัน และความมั่นคง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ () = 9.12, df = 7, p = .24444, ค่าดัชนี CFI = 1.00, GFI = .99, RMSEA = .028 และระยะที่ 2 การศึกษาผลของการใช้การปรึกษา กลุ่มเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวนิยมเป็นฐานต่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ พบว่า 1) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้สูงอายุ กลุ่มทดลองมีภาวะพฤฒพลังในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีภาวะพฤฒพลังในระยะหลังการทดลองและ ระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ณลิณ ควรครู. (2556). ผลการพัฒนาคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก
และเยาวชนจังหวัดนครพนมโดยการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยม. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จินตนา เบี้ยแก้ว. (2557). ผลการปรึกษากลุ่มแบบอัตถิภาวนิยมต่ออิสระแห่งตนของนิสิตพยาบาล
ชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์. (2546). ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีอัตถิภาวนิยมต่อความวิตกกังวล
ของสตรีวัยทอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นาถยา คงขาว. (2559). ผลการปรึกษากลุ่มแบบอัตถิภาวนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียน
มัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิไลพร วงค์คีนี. (2555). ปัจจัยทำนายภาวะพฤฒพลังของประชากรเขตเมือง จังหวัดเชียงใหม่.
วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุษา โพนทอง. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาภาวะพฤฒพลังของข้าราชการกองทัพไทย
ตามแนวคิดวิทยาการผู้สูงอายุด้านการศึกษาและการเรียนรู้จากประสบการณ์. ปริญญา
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชานโยบาย การจัดการและ
ความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุบลทิพย์ ไชยแสง. (2561). รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต
สำหรับผู้สูงอายุจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ
การสาธารณสุขภาคใต้. 5 (3), หน้า 230-247.

World Health Organization. (2002). Active ageing : a policy framework. Retrieved
September 15, 2018, from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/67215/
WHO_NMH_NPH_02.8.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28