การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารว่างพลังงานต่ำสำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
การพัฒนาตำรับ, ซูคราโลส, นมขาดมันเนยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารว่างพลังงานต่ำสำหรับผู้สูงอายุ 2) ศึกษาการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์อาหารว่างพลังงานต่ำสำหรับผู้สูงอายุ 3) ศึกษา องค์ประกอบทางเคมีและคุณค่าทางโภชนาการ มีวิธีการดำเนินการวิจัยโดยประเมินคุณภาพทาง ประสาทสัมผัส ด้านลักษณะที่ปรากฏสีของเนื้อขนม กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม โดยผู้ทดสอบชิมที่ผ่านการฝึกฝน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า ขนมทองเอกที่ได้รับคะแนนความชอบเฉลี่ยในทุกคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส ใช้สารให้ความหวานซูคราโลสทดแทนน้ำตาลซูโครส คือ ร้อยละ 75 ใช้นมขาดมันเนยทดแทนกะทิ คือ ร้อยละ 50 การยอมรับของผู้ทดสอบ พบว่า ได้รับคะแนนความชอบเฉลี่ยในทุกคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสระดับชอบมาก ขนมอาลัวที่ได้รับคะแนนความชอบเฉลี่ยในทุกคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส ใช้สารให้ความหวานซูคราโลสทดแทนน้ำตาลซูโครส คือ ร้อยละ 50 ใช้นมขาดมันเนยทดแทนกะทิ คือ ร้อยละ 50 การยอมรับของผู้ทดสอบ พบว่า ได้รับคะแนนความชอบเฉลี่ยในทุกคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสระดับชอบมาก ขนมช่อม่วงที่ได้รับคะแนนความชอบเฉลี่ยในทุกคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส ใช้สารให้ความหวานซูคราโลสทดแทนน้ำตาลซูโครส คือ ร้อยละ 50 ใช้นมขาดมันเนยทดแทนกะทิ คือ ร้อยละ 100 การยอมรับของผู้ทดสอบ พบว่า ได้รับคะแนนความชอบเฉลี่ยในทุกคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสระดับชอบมาก โดยอาหารว่างพลังงานต่ำสำหรับผู้สูงอายุมีพลังงานและน้ำตาลลดลงจากการทดแทนด้วยน้ำตาลซูคราโลสและนมขาดมันเนย คือ ขนมทองเอก 100 กรัม ให้พลังงานเท่ากับ 301.61 กิโลแคลอรี น้ำตาลเท่ากับ 28.79 กรัม ขนมอาลัว 100 กรัม ให้พลังงานเท่ากับ 322.66 กิโลแคลอรี น้ำตาลเท่ากับ 38.11 กรัม ขนมช่อม่วง 100 กรัม ให้พลังงาน เท่ากับ 217.74 กิโลแคลอรี น้ำตาลเท่ากับ 7.33 กรัม
References
ให้ความหวานแทนน้ำตาล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปราณี อ่านเปรื่อง. (2547). หลักการวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์.
วรารัตน์ สานนท์. (2552). การพัฒนาขนมหม้อแกงไข่ลดพลังงานและการปรับปรุงสัดส่วนกรดไขมันด้วย
สารให้ความหวานซูคราโลสและกะทิธัญพืช. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สาคร มะลิพันธุ์. (2554). เมนูอาหารว่าง. กรุงเทพมหานคร : ณ ดา สำนักพิมพ์.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2562). เมนู 7 วันสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสามเจริญ
พาณิชย์.
Grotz, L. V., Molinary, S., Peterson, C.R., Quinlan, E.M., and Reo, R. (2012). Alternative
Sweeteners. (4 th). Boca Raton: CRC Press,
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว