การพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตรในพื้นที่ชุมชนบัวสลี อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • จรัญ คนแรง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • มิ่งขวัญ สมพฤกษ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ไพโรจน์ ด้วงนคร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นงนุช ศรีเล็ก คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • วิบูลพร วุฒิคุณ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนานวัตกรรม, มูลค่าเพิ่ม, ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, การถ่ายทอดเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้เป็นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรใน พื้นที่ชุมชนบัวสลี อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มี ความเหมาะสมต่อชุมชนและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีศักยภาพผลการวิจัยพบว่า จากการลงพื้นที่ในกลุ่มของวิสาหกิจชุมชนสามารถคัดเลือกตัวอย่างของ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีความเข้มแข็งและมีการผลิตสินค้าทางการเกษตรอย่างต่อเนื่องโดยได้คัดเลือกกลุ่มผลิตกล้วยฉาบภายใต้กระบวนการผลิตที่มีปัญหาในด้านการเก็บรักษาและระยะเวลาในการจำหน่ายจึงมีการพัฒนานวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมต่อชุมชนโดยพบว่าเครื่องอบแห้งผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบขนาด 20 กิโลกรัม โดยใช้รูปแบบของการใช้ลมร้อนและควบคุมอุณหภูมิที่ 70 องศา- เซลเซียส ช่วยให้มีรสชาติดีขึ้นและช่วยยืดระยะเวลาการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานขึ้น และ การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีศักยภาพ พบว่า เมื่อนักวิจัย ได้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างพลังและการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการยอมรับรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้ไปในทิศทางเดียวกันและเกิดการแบ่งกลุ่ม ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นหมวดหมู่ประกอบด้วย 1) กลุ่มทางด้านการทำเกษตร 2) กลุ่มแปรรูปอาหาร 3) กลุ่มสมุนไพร 4) กลุ่มผ้า 5) กลุ่มหัตถกรรม จากทั้งหมด 22 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และนอกจากนี้ ในการสัมมนากลุ่มได้ตกผลึกการสร้างแบรนด์กลางและบรรจุภัณฑ์ของชุมชนเพื่อให้ทราบแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากชุมชนบัวสลี อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

References

กกิตติ ลิ่มสกุล. (2553). เส้นทาง OTOP สู่ OVOP เคล็ดลับสู่ความสําเร็จ. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2561,
จาก http://www.arip.co.th/business news.php?id=410058.

ช่อมาลา มานะ และอาวรณ์ โอภาสพัฒนากิจ. (2560). ศักยภาพการจัดการตลาดผลิตผลทางการเกษตร
ของกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. แก่นเกษตรฉบับพิเศษ.
1, หน้า 527-533.

ทนงศักดิ์ วัฒนา. (2554). การอบแห้งและประยุกต์ใช้งานเครื่องอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์.
ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2561, จาก http://thailandindustry.com.

ธีรเดช ใหญ่บก, สุวิทย์ เพชรห้วยลึก, จอมภพ แววศักดิ์, มารีนา มะหนิ และภรพนา บัวเพชร์. (2553).
การพัฒนากระบวนการอบแห้งปลาด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานร่วมแสงอาทิตย์-ไฟฟ้า ภายใต้
สภาพภูมิอากาศภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 12 (3), หน้า 109-118.

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2545). SWOT : การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจชุมชน.
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.

วิบูลพร วุฒิคุณ และคณะ. (2562). การวิเคราะห์ศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของ
ชุมชนบัวสลี อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มทร.ล้านนา. 3 (1).
หน้า 75-82.

อนุชา ม่วงใหญ่. (2559). แนวทางการพัฒนาเพื่อส่งเสริมศักยภาพชุมชนและท้องถิ่น “ในศตวรรษที่ 21”.
วารสารวิชาการอิสเทิร์นเอเชีย. 6 (3), หน้า 12 - 26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28