ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ของชาวสวนยางพาราพารา ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ปัจจัยทางจิตสังคม, พฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง, ชาวสวนยางพาราบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ที่มีกรอบแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีรูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยม และทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีจุดมุ่งหมายคือ เพื่อแสวงหาว่าปัจจัยใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และแสวงหากลุ่มชาวสวนยางพาราที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงน้อย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ชาวสวนยางพารา ในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา ที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป รวม 420 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นกำหนดโควตา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มรวม และ 10 กลุ่มย่อย ที่แบ่งตามลักษณะทางชีวสังคมของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยสถิติวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 3 ทาง ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำคะแนนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มาทำการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณที่ใช้ตัวแปรลักษณะสถานการณ์ จิตลักษณะเดิม และจิตลักษณะตามสถานการณ์ เป็นตัวทำนาย สามารถทำนายในกลุ่มรวมได้ 52.5% โดยมีลำดับตัวทำนายที่สำคัญคือ การเห็นแบบอย่างจากคนรอบข้าง ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และทัศนคติที่ดีต่อการดำรงชีวิต ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทางเพื่อแสวงหากลุ่มชาวสวนยางพาราที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงน้อย พบว่ากลุ่มชาวสวนยางพาราที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงน้อย คือ กลุ่มชาวสวนยางพาราที่มีเพศชาย ผลการวิจัยสามารถเป็นข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติให้กับหน่วยงานพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวสวนยางพารา รวมทั้งเป็นการต่อยอดพื้นฐานการวิจัยพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงในอนาคต
References
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2543). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและการพัมนาบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัชชัย ศรีพรงาม. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานอย่างปลอดภัยของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและปั่นด้าย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นิภาพร โชติสุดเสน่ห์. (2545). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ไพรินทร์ ขัดธิพงษ์. (2553). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวกับความฉลาดทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รวิกาญจน์ เดือนดาว. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการขับขี่อย่างปลอดภัยของพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม
คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิทูลย์ แก้วสุวรรณ, เกษมชาติ นเรศเสนีย์ และ บุญเรือง ศรีเหรัญ. (2559). การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. วารสารการเมืองการปกครอง. 6 (2),
หน้า 55-69.
วีรชัย คำธร. (2554). ปัจจัยเชิงบูรณาการตามประสบการณ์และลักษณะทางจิตที่มีอิทธิพลต่อ จิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 18 (1),
หน้า 57-66.
อภิชัย พันธเสน. (2546). การประยุกต์พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Kerlinger, F. N., & Lee, H. B. (2000). Foundations of Behavioral Research. (4th ed.). Holt, NY: Harcourt College Publishers.
Magnusson, D., & Endler, N. S. (1977). Personallity at the Crossroads: Current Issues in Interactionism Psychology. New jersey: LEA Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว