ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของชาวบ้านตำบลคูหาใต้ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สร้อยทิพย์ ทองมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้ทางจิตสังคม, พฤติกรรมการมีส่วนร่วม, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ที่มีกรอบแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีรูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยม และทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีจุดมุ่งหมายคือเพื่อแสวงหาว่าปัจจัยใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแสวงหากลุ่มชาวบ้านที่มีส่วนร่วมน้อยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ชาวบ้านตำบลคูหาใต้ในเขตพื้นที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป รวม 400 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นกำหนดโควตา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและทำการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มรวม และ 12 กลุ่มย่อย ที่แบ่งตามลักษณะทางชีวสังคมของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยสถิติวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 3 ทาง ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำคะแนนพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาทำการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณที่ใช้ตัวแปรลักษณะสถานการณ์ จิตลักษณะเดิม และจิตลักษณะตามสถานการณ์ เป็นตัวทำนายสามารถทำนายในกลุ่มรวมได้ 47.1% โดยมีลำดับตัวทำนายที่สำคัญคือ การเห็นแบบอย่างจากคนรอบข้าง การสนับสนุนทางสังคมจาภาครัฐ ทัศนคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และความเชื่ออำนาจในตน ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทางเพื่อแสวงหากลุ่มชาวบ้านที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมน้อย พบว่า กลุ่มชาวบ้านที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมน้อย คือ กลุ่มชาวบ้านที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถเป็นข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติให้การหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านพัฒนาชุมชนนำไปใช้เพื่อเป็นการยกระดับด้านการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตในความเป้นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการต่อยอดพื้นฐานการวิจัยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอนาคต

References

ธวัชชัย ศรีพรงาม. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานอย่างปลอดภัยของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและปั่นด้าย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นรเชษฐ ขุนทองเพชร และนฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์, (2559). สิทธิชุมชนกับการพิทักษ์เขาคูหา. วารสารหาดใหญ่. 14 (1), หน้า 63-77.

นิภาพร โชติสุดเสน่ห์. (2545). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระมหาประกาศิต สิริเมโธ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพรินทร์ ขัดธิพงษ์. (2553). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวกับความฉลาดทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รวิกาญจน์ เดือนดาว. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการขับขี่อย่างปลอดภัยของพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม
คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วีรชัย คำธร. (2554). ปัจจัยเชิงบูรณาการตามประสบการณ์และลักษณะทางจิตที่มีอิทธิพลต่อ จิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม. 18 (1), หน้า 57-66.

Kerlinger, F. N., & Lee, H. B. (2000). Foundations of Behavioral Research. 4th ed. Holt, NY: Harcourt College Publishers.

Sripornngam, T., Buakwan, N., Petlamul, W., Rattakul, K,. & Shoosanuk, A. (2018). Target groups and promotion factors in development related to local communities participation in Preserving the Payabangsa Community at Satun Province. Veridian
E-Journal, Silpakorn University. 11 (5), pp. 372-387.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29