แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษา: สวนเกษตรแบบผสมผสาน ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, การพัฒนา, กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร, การวิจัยผสมผสานวิธีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบผสมผสาน ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้นำการท่องเที่ยวสวนเกษตรแบบผสมผสานแนวใหม่ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 5 ท่าน และแบบสอบถามใช้สำหรับเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน การวิเคราะห์มูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่ตำบลเกาะยอ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (55.0%) มีอายุอยู่ระหว่าง 25 ถึง 34 ปี (37.5%) รวมทั้งเป็นนักศึกษา (34.4%) มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท (30.3%) และส่วนใหญ่ไม่มีครอบครัว (51.0%) ที่ส่วนใหญ่เดินทางเข้าไปท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (38.0 %) และเหตุผลที่นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมเพราะชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยว (30.5%) และความมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว (16.3%) มากไปกว่านั้นนักท่องเที่ยวเข้าศึกษาแนวคิดการทำสวนเกษตรแบบผสมผสาน และเรียนรู้วิถีชีวิตการทำประมงของชาวบ้านลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลานอกจากนั้นนักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมภายในศูนย์การเรียนรู้สวนเกษตรตามความสนใจ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภายในตำบลเกาะยอให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรตำบลเกาะยอผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
References
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการบริหารและวิจัย. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทพกร ณ สงขลา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการใช้ทรัพยากรเกษตรของชุมชน: กรณีศึกษาท่องเที่ยวเชิงเกษตรช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์. 6 (2), หน้า 1-12.
ธนัชชา ฤทธิ์เดช. (2558). แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 10(2), หน้า 28-29.
นงเยาว์ พรหมประสิทธิ์. (2556). แนวทางพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกาะยอ อำเภอเมือง จังงหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2558). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อความยั่งยืน โครงการหลวงปางดะ. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 9 (1), หน้า 19-35.
วรพล วัฒนเหลืองอรุณ. (2544). การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในระบบเหมืองฝายของภูมิปัญญาชาวบ้าน: กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วยอีค่าง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานจังหวัดสงขลา. (2560). ข้อมูลจังหวัดสงขลา 2560 ปฏิบัติการเดินหน้าสงขลา เดินหน้าประเทศไทย 2560. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก https://www.songkhla.go.th/files/ com_news_operation/2017-09_a02ac8d01839c28.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว