การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาธุรกิจชุมชน ลุ่มแม่น้ำท่าจีน กลุ่มภาคกลางตอนล่าง 1 กรณีศึกษา ชุมชนบ้านบางแม่หม้าย

ผู้แต่ง

  • อารยา เกียรติก้อง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ปิยวัฒน์ เกียรติก้อง ศูนย์บริการการศึกษา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การสืบทอดภูมิปัญญา, บ้านบางแม่หม้าย, ไม้กวาดใยมะพร้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทชุมชนบ้านบางแม่หม้าย ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผู้ทรงภูมิปัญญา การถ่ายทอดและสืบทอดภูมิปัญญาการทำผลิตภัณฑ์ไม้กวาดใยมะพร้าวสู่การพัฒนาธุรกิจ มีวิธีการดำเนินการวิจัยที่บ้านบางแม่หม้าย ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีโดยรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการและไม่เป็น ทางการ การสัมภาษณ์เกี่ยวกับภูมิหลังของชุมชน การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคณะนักวิจัยและชุมชนในประเด็นภูมิปัญญา การทำผลิตภัณฑ์ไม้กวาดใยมะพร้าว รวมถึงการทำแผนที่ชุมชนและใช้เทคนิคการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้ทรงภูมิปัญญา 4 ท่าน ผู้สืบทอดภูมิปัญญาจำนวน 9 ท่าน นักวิชาการในท้องถิ่น 3 ท่าน ผู้นำท้องถิ่น/ผู้ประกอบการจำนวน 4 แหล่ง ผลการวิจัยพบว่า บริบทของชุมชนเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายสงบตามธรรมชาติ ทำการผลิตภัณฑ์ไม้กวาดใยมะพร้าวถือได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านบางแม่หม้ายและได้มีการแจ้งข้อมูลทางภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ ในชื่อ “ไม้กวาดร้อยปีบางแม่หม้าย” ไว้กับกรมทรัพยสินทางปัญญาที่กป 38 ผู้ทรงภูมิปัญญา ในชุมชนได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยแต่ละท่านทำมาประมาณ 40 ปีขึ้นไป ในปัจจุบันได้ถ่ายทอดให้เยาวชนและผู้ที่สนใจด้วยการเป็นวิทยากรให้กับหลักสูตรท้องถิ่นการทำไม้กวาดใยมะพร้าวเพื่อสืบทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาธุรกิจชุมชน จากการวิเคราะห์ความได้เปรียบของกลุ่มไม้กวาดใยมะพร้าวบ้านบางแม่หม้าย มาจากการที่ผู้ผลิตได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษมาอย่างยาวนานและยังคงมีการสืบทอดภูมิปัญญามาอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ผลิตรายอื่น ตามรายชื่อผู้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.441/2547 ในช่วงปี 2548-2556 ไม้กวาดใยมะพร้าวมีผู้ผลิตใน 3 จังหวัด มีความแตกต่างกันและเมื่อวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค พบว่าผลิตภัณฑ์มีจุดแข็งเพราะมีความเอกลักษณ์ที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาของชุมชนได้อย่างชัดเจนมีการสืบทอด มาจากบรรพบุรุษ ยังคงความเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ใช้วัสดุและอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่หาได้ภายในชุมชนและเป็นวัสดุธรรมชาติ อีกทั้งการสืบทอดภูมิปัญญาการทำไม้กวาดของชุมชนสามารถพัฒนาต่อเนื่องไปได้ในรูปแบบของธุรกิจที่มีลักษณะการผลิตตามคำสั่งซื้อได้ และรอการสร้างผู้สืบทอดผู้ภูมิปัญญารุ่นใหม่ขึ้นมาแทน ในปัจจุบันมีการทำไม้กวาด ใยมะพร้าวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิต ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำอาชีพเสริมหลังจากการทำนา

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). คุณลักษณะ & วิธีวิทยางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. กรุงเทพมหานครสำนักงานกองทุน:สนับสนุนการวิจัย (สกว).

กรมวิชาการ กองวิจัยทางการศึกษา. (2542). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว

กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม. (2557). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2557 จาก //http://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx25

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2557). ธุรกิจชุมชน : เส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพมหานคร: สานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว).

บุญเรือน สุวรรณคร. (2557, 19, ธันวาคม). กรรมการกลุ่มหัตกรรมพื้นบ้านไม้กวาดใยมะพร้าว. [บทสัมภาษณ์].

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์และ กาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ: การจัดการ ข้อมูล การตีความและการหาความหมาย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประจวบ อ่อนละมูล. (2557, 9, กันยายน). ประธานกลุ่มหัตกรรมพื้นบ้านไม้กวาดใยมะพร้าว. [บทสัมภาษณ์].

วรพจน์ อ่อนละมูล, (2557, 9, กันยายน). กรรมการกลุ่มหัตกรรมพื้นบ้านไม้กวาดใยมะพร้าว. [บทสัมภาษณ์].

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมการเรียนรู้และการสร้างอาชีพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์แห่งประเทศไทย

เสน่ห์ สุวรรณคร. (2557, 19, ธันวาคม). กรรมการกลุ่มหัตกรรมพื้นบ้านไม้กวาดใยมะพร้าว. [บทสัมภาษณ์].
Hunt & Morgan. (1996). The resource-advantage theory of competition: A review. Retrieved May 24, 2006, from http://books.google.co.th/books? id= sYiSI4dmHZMC&pg=PA161

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29