การใช้ภาษาโปรตุเกสและภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร ในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ มาตังคะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ภาษาโปรตุเกสและภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร, ราชสำนัก, สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

บทคัดย่อ

ชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาติดต่อกับประเทศสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เริ่มต้นด้วยชาวโปรตุเกสซึ่งเข้ามาในปี พ.ศ. 2054 ตามมาด้วย ชาวสเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส โดยลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการค้า เพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก และมาเป็นทหารรับจ้าง การติดต่อกับนานาชาติประสบความสำเร็จมากที่สุดในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งเรียกได้ว่าเป็นยุคทองแห่งการติดต่อกับต่างประเทศของสยาม การสื่อสารในยุคแรกนั้นเป็นการติดต่อกับราชสำนักสยามโดยตรง โดยใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นหลัก ทั้งภาษาพูดที่ใช้กันโดยทั่วไปและภาษาเขียนที่ใช้ในการทำสนธิสัญญาต่าง ๆ การเจรจาในยุคแรก ๆ นั้น ผ่านล่ามชาวจีนและมลายู หลังจากนั้นจึงมีการสื่อสารของชาวโปรตุเกส และลูกครึ่งโปรตุเกสที่ใช้ภาษาไทยได้ด้วย ข้าราชสำนักสยาม เจ้านาย และขุนนางไทยบางส่วนก็สามารถสื่อสารภาษาโปรตุเกสได้ ส่วนชาวต่างชาติตะวันตกอื่น ๆ ที่เข้ามาติดต่อก็ต้องใช้ภาษาโปรตุเกสในการสื่อสารเช่นกัน ต่อมาเมื่อคณะทูตชาวฝรั่งเศสเดินทางเข้ามาติดต่อกับสยามตามพระราชบัญชาของสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส ได้มีบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเดินทางเข้ามาเพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกด้วย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ชาวฝรั่งเศสสร้างโบสถ์และสร้างบ้านเณรขึ้นในบริเวณนอกกำแพงพระนคร จึงมีการสอนภาษาฝรั่งเศสและภาษาละตินให้กับชาวสยามที่มาเข้าโบสถ์ ประกอบกับความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักสยามและฝรั่งเศสมีความแน่นแฟ้นมาก ภาษาฝรั่งเศสจึงมีบทบาทมากขึ้นตลอดรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

References

80 ปีวัดซางตาครู้ส. (2539). กรุงเทพมหานคร: เอพีพริ้นติ้ง.

กำพล จำปาพันธ์. (2559). อยุธยา: จากเมืองท่านานาชาติสู่มรดกโลก. นนทบุรี:มิวเซียมเพลส.

เกริกฤทธิ์ ไทคูณธนภพ. (2555). พระนารายณ์มหาราช ยุคอารยธรรมความรุ่งเรืองของสยามประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สยามความรู้.

ไกรฤกษ์ นานา. (2560). ประวัติศาสตร์นอกตำรา สยามรัฐในโลกตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

ขจร สุขพานิช. (2545). เอกสารในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:
คุรุสภา.

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณคดี. (2510). สัญญาไทย-ฝรั่งเศส และ หนังสือ 60 ปี พระวิสูตรสุนทร. ในประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณคดี

โคลด์, เซเบเรต์ เดอ บูเล. (2560). จดหมายเหตุมองซิเออร์เซเบเรต์. แปลโดยราชบัณฑิตยสภา.นนทบุรี:
ศรีปัญญา.

จารึกในประเทศไทย. (2550). ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2559.จาก ://th.m.wikipedia.org>wiki.

จิราภรณ์ มาตังคะ และคณะ. (2551). งานวิจัยเรื่องศาสนศิลป์ริมฝั่งน้ำ: กรณีศึกษาชุมชนธนบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ, (บรรณาธิการ). (2547). ภาษากับการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร:
พี. เพรส.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2550). อยุธยา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2561). อยุธยา: ประวัติศาสตร์และการเมือง. สมุทรปราการ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

แชร์แวส, นิโกลาส. (2550). ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร.นนทบุรี: ศรีปัญญา.

ธวัชชัย ตั้งสิริวานิช. (2537). กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

นาวินี พงศ์ไทย. (2559, 2 มิถุนายน). สัมภาษณ์. เจ้าของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน. ณพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน
แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2537). การเมืองไทยการสมัยพระนารายณ์. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

บาทหลวงเดอ ชัวซีย์. (2551). จดหมายเหตุรายวันการเดินทางไปสู่ประเทศสยามในปี ค.ศ. 1685 และ 1686. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

บาทหลวงเดอะแบส. (2561). บันทึกความทรงจำของบาทหลวงเดอะแบสเกี่ยวกับมรณกรรมของก็ องสคังซ์ ฟอลคอน. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

บาทหลวงตาร์ซารด์. (2551). จดหมายเหตุการณ์เดินทางสู่ประเทศสยามครั้งที่ 1 และจดหมายเหตุการ เดินทาง ครั้งที่ 2 ของบาทหลวงตาซารด์. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

บาทหลวงสุรชัย ศรีชุ่มพันธ์. (2560). การบรรยายเรื่อง การตั้งรกรากของชาวฝรั่งเศสในอยุธยาและการ
ก่อตั้งมิสซังสยาม. 2 กรกฏาคม 2460 ณ วัดนัดนักบุญยอแซฟ อ.พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา.

ประชุมพงศาวดารเล่มที่ 21. ภาคที่ 35 และ 36. (2511). กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

ประชุมพงศาวดารเล่มที่ 24. ภาคที่ 35 และ 36. (2511). กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

ประชุมพงศาวดารเล่มที่ 28. ภาคที่ 35 และ 36. (2511). กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

ปรีดี พิศภูมิวิถี. (2550). อยุทธยาคดีจากเอกสารโปรตุเกส. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 29, หน้า 44-71.

ปรีดี พิศภูมิวิถี. (2553). กระดานทองสองแผ่นดิน.กรุงเทพมหานคร: มติชน.

พลับพลึง มูลศิลป์. (2523). ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเสสมัยอยุธยา. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ.

พิทยะ ศรีวัฒนสาร.(ม.ป.ป.). การบรรยายเรื่อง สยาม-โปรตุเกสศึกษา: บทบาทของภาษาโปรตุเกสใน ประวัติศาสตร์อยุธยา. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2560, จาก http://siamportuguesestudy. blogspot.com/2011/0 2/blog_post_8845html.

ยุวดี วัชรางกูร. (2554). 500 ปี ความสัมพันธ์สยาม-โปรตุเกส National Documentary ฉบับ พิเศษ. กรุงเทพมหานครมหานคร: เนชั่น บรอดแคสติ้ง.

ลาลูแบร์, ซิมอนเด. (2549). จดหมายเหตุลาลูแบร์. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. กรุงเทพมหานคร:
ศรีปัญญา.

วัดนักบุญยอแซฟอยุธยา. ค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2559, จาก http://th.m.wikipedia.org> wiki.

แวดวงคาทอลิก: ฉลองวัดนักบุญยอแซฟอยุธยา อัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.jsyutya.com/aboutchurch/aboutchurch.html.

ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. (2527). กรุงศรีอยุธยาของเรา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: ศิลปวัฒนธรรม.

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัยและปรามินทร์ เครือทอง. (2546). ท้าวทองกีบม้า “มาดามฟอลคอน” “ขนมไทย” หรือ “ขนมเทศ”. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

ศุกลรัตน์ ธาราศักดิ์. (2545). “ฝรั่ง” อภิธานศัพท์คำไทยที่มีต้นเค้ามาจากภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

สปอร์ตาช, มอร์แกน. (2554). เงาสยามยามผลัดแผ่นดินพระนารายณ์. แปลโดย กรรณิการ์ จรรย์แสง. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

หอจดหมายเหตุ. (2015). พระสังฆราชหลุยส์ ลาโน. ค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560, จาก http:// catholichaab.com/main/index.php/2015-09-22-02-42-26/biography /2018-09-22-0.

เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติของกระทรวงการทหารเรือ (ฝรั่งเศส) เกี่ยวประเทศสยาม เล่ม 1 ค.ศ. 1684-1699 (พ.ศ. 2227-2242). (2547) พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30