การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • นิสภรณ์ ธำรงค์วัฒนกุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางม่วง ตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
  • ภัทราพร ฤทธิ์เทพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางม่วง ตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
  • ขวัญเรียม นิมสุวรรณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางม่วง ตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
  • ธวัชชัย ศรีพรงาม วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

ความเชื่อด้านสุขภาพ, การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเชื่อด้านสุขภาพ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้สูงอายุ ตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 280 คนจากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2560 ถึงเดือนมกราคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ และสถิติเชิงอนุมานเพื่อทำสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามด้วยการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความเชื่อด้านสุขภาพในระดับสูง ร้อยละ 72.5 รองลงมาในระดับปานกลาง ร้อยละ 24.6 และระดับต่ำ ร้อยละ 2.9 2) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง ร้อยละ 53.2 รองลงมาในระดับปานกลาง ร้อยละ 26.4 และระดับต่ำ ร้อยละ 20.4 3) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในระดับปานกลาง ร้อยละ 37.9รองลงมาในระดับสูง ร้อยละ 31.4 และระดับต่ำ ร้อยละ 30.7 และ 4) เมื่อทำการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรความเชื่อด้านสุขภาพ และตัวแปรการได้รับการสนับสนุนทางสังคม กับตัวแปรพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ปรากฏว่า ตัวแปรความเชื่อ ด้านสุขภาพ และตัวแปรการได้รับการสนับสนุนทางสังคม ทั้ง 2 ตัวแปร มีความสัมพันธ์ตัวแปรพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

นภาภรณ์ หะวานนท์ และธีรวัลย์ วรรธโนทัย. (2552). ทิศทางใหม่ในการพัฒนาการอยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

น้ำเพชร หล่อตระกูล. (2543). การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอด เลือดหัวใจตีบ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประสิทธิ์ นิมสุวรรณ์, ขวัญเรียม นิมสุวรรณ์, ธวัชชัย ศรีพรงาม และ อัมพล ชูสนุก. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของชาวบ้านในชุมชนพื้นที่ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 3 (2) , หน้า 146-166.

ปริฉัตร ปกษี, อาซูวา อุมา และวรัญญา อรุโณทยานันท, (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผูสูงอายุ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 3 (1) , หน้า 145-159.

พรทิพย์ โพธิครูประเสริฐ. (2545). การศึกษาการสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

มธุรส จันทร์แสงศรี. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพและแรง สนับสนุนทางสังคม กับการปฏิบัติกิจกรรมของผู้สูงอายุแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล.
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาลัย สำราญจิตต์. (2540). การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่นใน ระยะหลังคลอด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2556). รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2555. นนทบุรี: เอสเอส พลัส มีเดีย.

ลัดดา ดำริการเลิศ. (2555). การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน: ช่วงที่1 สถานการณ์และความต้องการ ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. นครปฐม: สำนักวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสถาบันพัฒนาสุขภาพ อาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.

สกุลรัตน์ เตียววานิช. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความพึงพอใจในบทบาทการดูแล เด็ก การรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับความผาสุกของผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สำมะโนประชากร พ.ศ.2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สิริพร พงษ์โภคา. (2532). การศึกษาความรู้เรื่องโรค ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกัน โรคในคู่สมรสของผู้ป่วยโรคตับอักเสบไวรัสบี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

อัสรา อาวรณ์. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมและปัจจัย ทางชีวสังคมกับความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

House, J. S. (1981). Work stress and social support. Reading, MA: Addison- Wesley.

Orem. D. (1985). Nursing : Concepts of Practice. New York : Mc Graw-Hill Book.

Pender, N.J. (1996). Health Promotion in Nursing Practice. 2 nd. ed. Prentice Hall: Pearson

United Nations Population Fund. (2012). Ageing in the Twenty-First Century: A
Celebration and A Challenge. New York: UNFEA.

Yamane, T. (1973). Statistic : An Introduction Analysis. 3 rd. ed. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30